ทางมรรคผลนิพพาน
ลัทธิของครูทั้ง 6 จัดว่าเป็นลัทธิร่วมสมัยพุทธกาล มีหลักฐานปรากฏในสามัญผลสูตรที่กล่าวถึงครูทั้ง 6 ว่า...
5 ความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
--->> 4. ทรรศนะของปกุธกัจจายนะ
ปกุธกัจจายนะเป็นนักพหุนิยมและวัตถุนิยม มีทรรศนะคล้ายกับอชิตเกสกัมพลโดยถือว่าสัตว์ประกอบด้วยธาตุทั้งหลาย ธาตุเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีความมั่นคง ไม่เป็นบ่อเกิดของสิ่งใด ๆ ได้อีก ไม่มีพฤติกรรมร่วมกับสิ่งใด ๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงไม่มีใครฆ่าใคร ไม่มีใครถูกฆ่า ไม่มีใครแสดงอะไรแก่ใคร ไม่มีใครสอน ไม่มีใครเรียน แม้ดาบจะผ่านร่างกายของสัตว์ไปก็ไม่จัดเป็นการทำบาป ไม่จัดเป็นการทำลายสัตว์เป็นเพียงดาบได้ผ่านกลุ่มธาตุที่ปรากฏเป็นร่างกายเท่านั้น ร่างกายนั้นเป็นกลุ่มของปรมาณูไม่มีสิ่งอื่นใดทุกอย่างสิ้นสุดลงพร้อมกับการตายของสัตว์นั้น ๆ
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า “อุจเฉทวาทะ” หรือ “อุจเฉททิฐิ” แปลว่า “เห็นว่าสูญสิ้น” คือไม่มีใคร ตายแล้วจึงไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก อยู่ในฐานะเป็น นัตถิกทิฐิ คือ ปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นอเหตุกทิฐิ คือ ปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และเป็น อกิริยทิฐิ คือ ปฏิเสธการกระทำด้วย เพราะเมื่อปฏิเสธบุคคลอย่างเดียวแล้ว การกระทำจะมีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ทรรศนะของเจ้าลัทธิปกุธกัจจายนะ จึงมีลักษณะกลมกลืนกับเจ้าลัทธิเหล่าอื่นที่กล่าวมาแล้ว
**************************************************************************
--->> 5. ทรรศนะของสญชัยเวลัฏฐบุตร
ไม่ปรากฏชัดเจนว่า สญชัยถือทรรศนะใด ว่าเป็นสิ่งสูงสุด เพราะถือว่า สิ่งอันติมะเป็นสิ่งไม่สามารถกำหนดได้ สญชัยกล่าวถึงปัญหาบางอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เช่น ปัญหาเรื่อง อาตมันเป็นสิ่งเดียวกับร่างกายหรือไม่ ? สัตว์ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่? ปัญหาเหล่านี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ โดยทรงแสดงเหตุผลว่าเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ทรงพยากรณ์ปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการของอริยสัจ 4
ในการตอบปัญหาต่าง ๆ สญชัยใช้หลักตรรกวิทยาเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญจึงถูกวิจารณ์ว่าเป็น อมราวิกเขปิกะ คือ พูดซัดส่ายไปมาอย่างปลาไหล เป็นคนพูดจาไม่อยู่กับร่องรอยที่แน่นอน แต่ไม่จัดว่าเป็น อกิริยาวาทิน อย่าง 4 เจ้าลัทธิข้างต้น
-->> คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า สญชัยเป็นครูของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย ของพระพุทธเจ้า พระอัครสาวกได้พยายามที่จะให้อาจารย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่ออ้อนวอนไม่เป็นการสำเร็จ จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก
ปกุธกัจจายนะเป็นนักพหุนิยมและวัตถุนิยม มีทรรศนะคล้ายกับอชิตเกสกัมพลโดยถือว่าสัตว์ประกอบด้วยธาตุทั้งหลาย ธาตุเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีความมั่นคง ไม่เป็นบ่อเกิดของสิ่งใด ๆ ได้อีก ไม่มีพฤติกรรมร่วมกับสิ่งใด ๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงไม่มีใครฆ่าใคร ไม่มีใครถูกฆ่า ไม่มีใครแสดงอะไรแก่ใคร ไม่มีใครสอน ไม่มีใครเรียน แม้ดาบจะผ่านร่างกายของสัตว์ไปก็ไม่จัดเป็นการทำบาป ไม่จัดเป็นการทำลายสัตว์เป็นเพียงดาบได้ผ่านกลุ่มธาตุที่ปรากฏเป็นร่างกายเท่านั้น ร่างกายนั้นเป็นกลุ่มของปรมาณูไม่มีสิ่งอื่นใดทุกอย่างสิ้นสุดลงพร้อมกับการตายของสัตว์นั้น ๆ
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า “อุจเฉทวาทะ” หรือ “อุจเฉททิฐิ” แปลว่า “เห็นว่าสูญสิ้น” คือไม่มีใคร ตายแล้วจึงไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก อยู่ในฐานะเป็น นัตถิกทิฐิ คือ ปฏิเสธความเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นอเหตุกทิฐิ คือ ปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และเป็น อกิริยทิฐิ คือ ปฏิเสธการกระทำด้วย เพราะเมื่อปฏิเสธบุคคลอย่างเดียวแล้ว การกระทำจะมีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ทรรศนะของเจ้าลัทธิปกุธกัจจายนะ จึงมีลักษณะกลมกลืนกับเจ้าลัทธิเหล่าอื่นที่กล่าวมาแล้ว
**************************************************************************
--->> 5. ทรรศนะของสญชัยเวลัฏฐบุตร
ไม่ปรากฏชัดเจนว่า สญชัยถือทรรศนะใด ว่าเป็นสิ่งสูงสุด เพราะถือว่า สิ่งอันติมะเป็นสิ่งไม่สามารถกำหนดได้ สญชัยกล่าวถึงปัญหาบางอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เช่น ปัญหาเรื่อง อาตมันเป็นสิ่งเดียวกับร่างกายหรือไม่ ? สัตว์ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่? ปัญหาเหล่านี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ โดยทรงแสดงเหตุผลว่าเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ทรงพยากรณ์ปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการของอริยสัจ 4
ในการตอบปัญหาต่าง ๆ สญชัยใช้หลักตรรกวิทยาเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญจึงถูกวิจารณ์ว่าเป็น อมราวิกเขปิกะ คือ พูดซัดส่ายไปมาอย่างปลาไหล เป็นคนพูดจาไม่อยู่กับร่องรอยที่แน่นอน แต่ไม่จัดว่าเป็น อกิริยาวาทิน อย่าง 4 เจ้าลัทธิข้างต้น
-->> คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า สญชัยเป็นครูของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย ของพระพุทธเจ้า พระอัครสาวกได้พยายามที่จะให้อาจารย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่ออ้อนวอนไม่เป็นการสำเร็จ จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก
ความคิดเห็นที่ 2
--->> 6. ทรรศนะของนิครนถนาฏบุตร
นิครนถนาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิร่วมยุคกับพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าลัทธิที่ถือปฏิบัติ เปลือยกาย เพราะถือว่าเครื่องนุ่งห่มเป็นเครื่องผูกพันอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องหมายของการมีพันธะอยู่กับโลกวัตถุ
นิครนถนาฏบุตร เป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในศาสนาเชน โดยทั่วไปถือว่าเป็นผู้เดียวกับมหาวีระศาสดาของเชน
แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงนครถนาฏบุตรเป็นส่วนใหญ่ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติทรมานตน ในฐานะเป็นตบะปลดเปลื้องกรรมเก่าให้หมดไป และเพื่อปิดกั้นกรรมใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อจากนั้นก็จะบรรลุโมกษะ
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า นิครนถนาฏบุตร ได้สิ้นชีวิตก่อนพระพุทธเจ้า สาวกแตกสามัคคีกัน พระพุทธสาวกเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นก็เป็นห่วงถึงพระพุทธศาสนา ด้วยเกรงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกจะแตกสามัคคีเช่นนั้น จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อทำสังคายนา พระพุทธเจ้าทรงแนะนำวิธีพิจารณาหลักธรรมและทรงแสดงวิธีการไว้เป็นตัวอย่าง
ทรรศนะทางปรัชญาของเชน กล่าวถึงเนื้อสารน่ามีอยู่จริง 9 อย่าง คือ
1. ชีวะ ที่เป็นตัวการของสิ่งมีชีวิต มีอยู่ในทุกสิ่งแม้แต่ต้นไม้ มีความรู้เป็นคุณสมบัติ
2. อชีวะ สิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ชีวะทำงานได้ เช่น ร่างกายเป็นที่อาศัยของสิ่งที่ เรียกว่า ชีวะ
3. บุญ-บาป เป็นผลเกิดจากพฤติกรรมของชีวะ ปรากฏทางกาย วาจา และทางมนัส
4. อาสวะ คือสิ่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ร่างกาย และจิต เป็นไปตามกรรมที่ได้ทำไว้
5. สังวระ คือการปิดกั้นกระแสกรรม และทำลายกรรมให้หมดสิ้นไป
6. พันธะ คือการผูกพันทางชีวะ เป็นเหตุให้ต้องตายและเกิดสืบต่อไป
7. นิรชา การกำจัดผลกรรม เหมือนการปิดน้ำไม่ให้รั่วเข้าเรือ แล้วทำการวิดน้ำในเรือออกให้หมดสิ้น
8. โมกษ คือความหลุดพ้น เป็นขั้นที่ผู้ปฏิบัติรู้ชัดตามเป็นจริง ตามหลักการของศาสนาเชน
ปรัชญาเชนถือว่า ความจริงต่าง ๆ มีอยู่หลายแง่หลายมุม ทั้งความจริงก็มีหลายอย่าง ทรรศนะดังกล่าวนี้เรียกว่า “อเนกันตวาทะ” แปลว่า “กล่าวถึงความจริงไม่ใช่หนึ่ง ” แต่ความจริงเหล่านั้นจะยืนยันเพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นปฏิเสธความจริงด้านอื่น ๆ จะเป็นการปฏิเสธความจริงเสียหลายด้าน เมื่อถือเอาเพียงด้านเดียว ดังนั้นการจะกล่าวยืนยันความจริงใด ๆ จำต้องมีคำว่า “บางที” หรือ “อาจจะ” เข้ามากำกับ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสความจริงด้านอื่นให้เป็นความจริง หลักการดังกล่าวนี้เรียก “สยาทวาท” แปลว่า “การกล่าวความจริงอย่างมีเงื่อนไข ”
ด้วยเหตุนี้ปรัชญาเชนจึงไม่กล่าวความจริงที่เป็น “อันติมะ” การกล่าวถึงสิ่งใด ๆ จะต้องระบุ รูปแบบ เนื้อสาร และ กาลเทศะ ของสิ่งนั้น ๆ มีเงื่อนไขการกล่าวความจริง 7 ขั้น คือ
1. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริง (ตามรูปแบบ เนื้อสาร และกาลเทศะ)
2. สิ่งนั้นอาจจะไม่จริง-
3. สิ่งนั้นอาจเป็นจริงและไม่เป็นจริง-
4. สิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งอธิบายไม่ได้-
5. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริง และอธิบายไม่ได้
6. สิ่งนั้นอาจจะไม่เป็นจริง และอธิบายไม่ได้-
7. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริงและไม่เป็นจริง ทั้งอธิบายไม่ได้-
ข้อปฏิบัติพื้นฐาน 5 ประการ ในศาสนา เชน คือ
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียนทางกายวาจาและใจ
2. สัตยะ การปฏิบัติสัจจะทางกาย วาจา ใจ
3. อสเตยยะ การไม่ลักด้วยกาย วาจา ใจ
4. พรหมจริยะ การปฏิบัติถูกต้องเรื่องกามด้วยกาย วาจา และใจ
5. อปริคคหะ การไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใด ๆ ด้วยกาย วาจา และใจ
นักบวชต้องปฏิบัติตามหลักการนี้อย่างเคร่งครัด จึงเรียกว่าลักษณะการปฏิบัติว่า มหาพรต ส่วนผู้ครองเรือนปฏิบัติในขั้นต่ำลงมา จึงเรียกว่า “อนุพรต” คำว่า “พรต” คือข้อปฏิบัติหรือหมายถึงสิ่งที่เรียกว่า ข้อวัตรปฏิบัติ
หลักการในการปฏิบัติในศาสนาเชนที่นำมากล่าวนี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น สำหรับเป็นเครื่องประกอบทรรศนะของนิครนถนาฏบุตร ผู้ประสงค์ศึกษาพิสดารค้นหาได้จากศาสนาและปรัชญาของเชน ซึ่งมีอยู่ในฐานะเป็นปรัชญาและศาสนาระบบหนึ่งของอินเดีย
นิครนถนาฏบุตร เป็นเจ้าลัทธิร่วมยุคกับพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าลัทธิที่ถือปฏิบัติ เปลือยกาย เพราะถือว่าเครื่องนุ่งห่มเป็นเครื่องผูกพันอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องหมายของการมีพันธะอยู่กับโลกวัตถุ
นิครนถนาฏบุตร เป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในศาสนาเชน โดยทั่วไปถือว่าเป็นผู้เดียวกับมหาวีระศาสดาของเชน
แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงนครถนาฏบุตรเป็นส่วนใหญ่ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติทรมานตน ในฐานะเป็นตบะปลดเปลื้องกรรมเก่าให้หมดไป และเพื่อปิดกั้นกรรมใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อจากนั้นก็จะบรรลุโมกษะ
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า นิครนถนาฏบุตร ได้สิ้นชีวิตก่อนพระพุทธเจ้า สาวกแตกสามัคคีกัน พระพุทธสาวกเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นก็เป็นห่วงถึงพระพุทธศาสนา ด้วยเกรงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระสาวกจะแตกสามัคคีเช่นนั้น จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าเพื่อทำสังคายนา พระพุทธเจ้าทรงแนะนำวิธีพิจารณาหลักธรรมและทรงแสดงวิธีการไว้เป็นตัวอย่าง
ทรรศนะทางปรัชญาของเชน กล่าวถึงเนื้อสารน่ามีอยู่จริง 9 อย่าง คือ
1. ชีวะ ที่เป็นตัวการของสิ่งมีชีวิต มีอยู่ในทุกสิ่งแม้แต่ต้นไม้ มีความรู้เป็นคุณสมบัติ
2. อชีวะ สิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ชีวะทำงานได้ เช่น ร่างกายเป็นที่อาศัยของสิ่งที่ เรียกว่า ชีวะ
3. บุญ-บาป เป็นผลเกิดจากพฤติกรรมของชีวะ ปรากฏทางกาย วาจา และทางมนัส
4. อาสวะ คือสิ่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ร่างกาย และจิต เป็นไปตามกรรมที่ได้ทำไว้
5. สังวระ คือการปิดกั้นกระแสกรรม และทำลายกรรมให้หมดสิ้นไป
6. พันธะ คือการผูกพันทางชีวะ เป็นเหตุให้ต้องตายและเกิดสืบต่อไป
7. นิรชา การกำจัดผลกรรม เหมือนการปิดน้ำไม่ให้รั่วเข้าเรือ แล้วทำการวิดน้ำในเรือออกให้หมดสิ้น
8. โมกษ คือความหลุดพ้น เป็นขั้นที่ผู้ปฏิบัติรู้ชัดตามเป็นจริง ตามหลักการของศาสนาเชน
ปรัชญาเชนถือว่า ความจริงต่าง ๆ มีอยู่หลายแง่หลายมุม ทั้งความจริงก็มีหลายอย่าง ทรรศนะดังกล่าวนี้เรียกว่า “อเนกันตวาทะ” แปลว่า “กล่าวถึงความจริงไม่ใช่หนึ่ง ” แต่ความจริงเหล่านั้นจะยืนยันเพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นปฏิเสธความจริงด้านอื่น ๆ จะเป็นการปฏิเสธความจริงเสียหลายด้าน เมื่อถือเอาเพียงด้านเดียว ดังนั้นการจะกล่าวยืนยันความจริงใด ๆ จำต้องมีคำว่า “บางที” หรือ “อาจจะ” เข้ามากำกับ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสความจริงด้านอื่นให้เป็นความจริง หลักการดังกล่าวนี้เรียก “สยาทวาท” แปลว่า “การกล่าวความจริงอย่างมีเงื่อนไข ”
ด้วยเหตุนี้ปรัชญาเชนจึงไม่กล่าวความจริงที่เป็น “อันติมะ” การกล่าวถึงสิ่งใด ๆ จะต้องระบุ รูปแบบ เนื้อสาร และ กาลเทศะ ของสิ่งนั้น ๆ มีเงื่อนไขการกล่าวความจริง 7 ขั้น คือ
1. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริง (ตามรูปแบบ เนื้อสาร และกาลเทศะ)
2. สิ่งนั้นอาจจะไม่จริง-
3. สิ่งนั้นอาจเป็นจริงและไม่เป็นจริง-
4. สิ่งนั้นอาจจะเป็นสิ่งอธิบายไม่ได้-
5. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริง และอธิบายไม่ได้
6. สิ่งนั้นอาจจะไม่เป็นจริง และอธิบายไม่ได้-
7. สิ่งนั้นอาจจะเป็นจริงและไม่เป็นจริง ทั้งอธิบายไม่ได้-
ข้อปฏิบัติพื้นฐาน 5 ประการ ในศาสนา เชน คือ
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียนทางกายวาจาและใจ
2. สัตยะ การปฏิบัติสัจจะทางกาย วาจา ใจ
3. อสเตยยะ การไม่ลักด้วยกาย วาจา ใจ
4. พรหมจริยะ การปฏิบัติถูกต้องเรื่องกามด้วยกาย วาจา และใจ
5. อปริคคหะ การไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใด ๆ ด้วยกาย วาจา และใจ
นักบวชต้องปฏิบัติตามหลักการนี้อย่างเคร่งครัด จึงเรียกว่าลักษณะการปฏิบัติว่า มหาพรต ส่วนผู้ครองเรือนปฏิบัติในขั้นต่ำลงมา จึงเรียกว่า “อนุพรต” คำว่า “พรต” คือข้อปฏิบัติหรือหมายถึงสิ่งที่เรียกว่า ข้อวัตรปฏิบัติ
หลักการในการปฏิบัติในศาสนาเชนที่นำมากล่าวนี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น สำหรับเป็นเครื่องประกอบทรรศนะของนิครนถนาฏบุตร ผู้ประสงค์ศึกษาพิสดารค้นหาได้จากศาสนาและปรัชญาของเชน ซึ่งมีอยู่ในฐานะเป็นปรัชญาและศาสนาระบบหนึ่งของอินเดีย
ความคิดเห็นที่ 3
--->> รวมความว่า ลัทธิปรัชญาของครูทั้ง 6 เป็นลัทธิปรัชญาร่วมพุทธกาล ทำให้เห็นว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น ไม่ได้มีเฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่ปรากฏในห้วงความคิดของปวงชนแต่ยังมีลัทธิปรัชญาอื่น ๆ อีกมาก มีทรรศนะของครูทั้ง 6 เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสปรารภว่า เหมือนชาวประมงที่ปิดกั้นปลาไม่ให้สัตว์น้ำแหวกว่ายลงสู่ห้วงแห่งอิสรภาพ คือมรรคผลนิพพาน...
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้า ที่ได้มีแล้วในอดีต เป็นผู้ตรัสยืนยันหลัก
กรรม ยืนยันกิริยา ยืนยันความเพียร พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า กรรมไม่
มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธ
เจ้า ที่จักมีในอนาคตก็จักตรัสยืนยันหลักธรรม ยืนยัน
กิริยา ยืนยันความเพียร ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า
กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี แม้เราผู้เป็นอรหันต์
สัมมาสัมพุทธะในปัจจุบัน ก็กล่าวยืนยันหลักกรรม
ยืนยันกิริยาและยืนยันความเพียร ก็ถูกโมฆบุรุษมัขลิค้าน
ว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีความเพียร ด้วยเหมือน
กัน”
(เกสกัมพลสูตร ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย)
-->> เป็นที่สังเกตว่า พระพุทธเจ้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นในยุคใด มีหลักพื้นฐานตรงกันทั้งสิ้น มีหลักพื้นฐานของคำสอนตรงกัน เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว ก็จัดว่าถูกต้องต่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ อย่างที่กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในทางตรงกันข้าม เมื่อปฏิบัติขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว ก็จัดว่าขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทั้ง 3 กาล เป็นกรรมวาที กิริยาวาที และวิริยาวาที มักขลีโคศาลมีวาทะขัดแย้ง จึงเป็นอกรรมวาที อกิริยาวาที และ อวิริยาวาที
-->> การมีทรรศนะผิด ถือหลักปรัชญาผิด เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ ให้หลักคำสอนที่ผิด ผลที่ติดตามคือความทุกข์ ความพินาศ เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ เรื่องนี้เห็นได้จากข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสปรารภเจ้าลัทธิมักขลิโคศาลนั้น เป็นใจความว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมงวาง
เครื่องดักปลาที่ปากอ่าว เป็นเหตุให้ปลาต้องพินาศวอด
วายมากมาย ฉันใด โมฆบุรุษมักขลินี้ก็ฉันนั้น เหมือน
วางเครื่องดักมนุษย์ เป็นคนเกิดมาในโลกนี้ เพื่อ
ความพินาศวอดวายแก่สัตว์ เพื่อสิ่งไร้ประโยชน์แก่สัตว์
และเพื่อความทุกข์แก่สัตว์เป็นอันมาก ”
(เกสกัมพลสูตร ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย)
-->> เป็นที่น่าสังเกตว่า การมีความเห็นผิด สอนหลักปรัชญาผิด ชักชวนในหลักการที่ผิดเป็นเรื่องที่มีโทษอย่างยิ่ง ทั้งแก่ตนและชาวโลกเป็นอันมาก การมีความเห็นผิดในหลักธรรมเบื้องสูงยังมีโอกาสเข้าใจถูกต้องและบรรลุธรรมได้ ส่วนการมีความเห็นผิดในเรื่องหลักธรรมเป็นทางดำเนินชีวิตในทางอกุศลกรรมบถ และเมื่อชักชวนชาวโลกให้นิยมปฏิบัติตาม ก็ย่อมก่อให้เกิดโทษในสังคมในโลกอย่างไพศาล เป็นพฤติการณ์เช่นเดียวกับงานของชาวประมง ที่สร้างความพินาศแก่ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ หมดสิ้นเป็นอ่าวแล้วอ่าวเล่า ตัวอย่างการประมงในปัจจุบัน คือ ความพินาศของฝูงปลา เป็นที่ปรากฏชัดเจนขึ้น พอ ๆ กับความพินาศ ความทุกข์ที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ เพราะเนื่องมาจากการยึดมั่นในหลักปรัชญาที่ผิด ปรากฏเป็นความพินาศควบคู่ระหว่างคนกับปลา ดังนั้น ข้อเปรียบเทียบของพระพุทธเจ้าจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้า ที่ได้มีแล้วในอดีต เป็นผู้ตรัสยืนยันหลัก
กรรม ยืนยันกิริยา ยืนยันความเพียร พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า กรรมไม่
มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธ
เจ้า ที่จักมีในอนาคตก็จักตรัสยืนยันหลักธรรม ยืนยัน
กิริยา ยืนยันความเพียร ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า
กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี แม้เราผู้เป็นอรหันต์
สัมมาสัมพุทธะในปัจจุบัน ก็กล่าวยืนยันหลักกรรม
ยืนยันกิริยาและยืนยันความเพียร ก็ถูกโมฆบุรุษมัขลิค้าน
ว่า ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา ไม่มีความเพียร ด้วยเหมือน
กัน”
(เกสกัมพลสูตร ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย)
-->> เป็นที่สังเกตว่า พระพุทธเจ้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นในยุคใด มีหลักพื้นฐานตรงกันทั้งสิ้น มีหลักพื้นฐานของคำสอนตรงกัน เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว ก็จัดว่าถูกต้องต่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ อย่างที่กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในทางตรงกันข้าม เมื่อปฏิบัติขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว ก็จัดว่าขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าทั้ง 3 กาล เป็นกรรมวาที กิริยาวาที และวิริยาวาที มักขลีโคศาลมีวาทะขัดแย้ง จึงเป็นอกรรมวาที อกิริยาวาที และ อวิริยาวาที
-->> การมีทรรศนะผิด ถือหลักปรัชญาผิด เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ ให้หลักคำสอนที่ผิด ผลที่ติดตามคือความทุกข์ ความพินาศ เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ เรื่องนี้เห็นได้จากข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสปรารภเจ้าลัทธิมักขลิโคศาลนั้น เป็นใจความว่า
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมงวาง
เครื่องดักปลาที่ปากอ่าว เป็นเหตุให้ปลาต้องพินาศวอด
วายมากมาย ฉันใด โมฆบุรุษมักขลินี้ก็ฉันนั้น เหมือน
วางเครื่องดักมนุษย์ เป็นคนเกิดมาในโลกนี้ เพื่อ
ความพินาศวอดวายแก่สัตว์ เพื่อสิ่งไร้ประโยชน์แก่สัตว์
และเพื่อความทุกข์แก่สัตว์เป็นอันมาก ”
(เกสกัมพลสูตร ติกนิบาตร อังคุตตรนิกาย)
-->> เป็นที่น่าสังเกตว่า การมีความเห็นผิด สอนหลักปรัชญาผิด ชักชวนในหลักการที่ผิดเป็นเรื่องที่มีโทษอย่างยิ่ง ทั้งแก่ตนและชาวโลกเป็นอันมาก การมีความเห็นผิดในหลักธรรมเบื้องสูงยังมีโอกาสเข้าใจถูกต้องและบรรลุธรรมได้ ส่วนการมีความเห็นผิดในเรื่องหลักธรรมเป็นทางดำเนินชีวิตในทางอกุศลกรรมบถ และเมื่อชักชวนชาวโลกให้นิยมปฏิบัติตาม ก็ย่อมก่อให้เกิดโทษในสังคมในโลกอย่างไพศาล เป็นพฤติการณ์เช่นเดียวกับงานของชาวประมง ที่สร้างความพินาศแก่ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ หมดสิ้นเป็นอ่าวแล้วอ่าวเล่า ตัวอย่างการประมงในปัจจุบัน คือ ความพินาศของฝูงปลา เป็นที่ปรากฏชัดเจนขึ้น พอ ๆ กับความพินาศ ความทุกข์ที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ เพราะเนื่องมาจากการยึดมั่นในหลักปรัชญาที่ผิด ปรากฏเป็นความพินาศควบคู่ระหว่างคนกับปลา ดังนั้น ข้อเปรียบเทียบของพระพุทธเจ้าจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าพิมพิสารผู้ราชบิดาอยู่มาวันหนึ่งทรงมีความประสงค์จะสนทนากับสมณพราหมณ์ ในปัญหาเรื่องการบวชมีผลเป็นที่ประจักษ์อย่างไร ได้เสด็จถามปัญหาดังกล่าวกับครูทั้ง 6 และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอพระทัย เพราะเป็นการถามปัญหาอย่างหนึ่งและตอบเสียอีกอย่างหนึ่ง ทรงนำคำตอบในลัทธิของครูทั้ง 6 มาตรัสเล่าถวายพระพุทธเจ้า ข้อความพิสดารมีปรากฏในสามัญญผลสูตร ครูทั้ง 6 นั้นมีนามปรากฏ ดังนี้ คือ
1. ปูรณกัสสปะ
2. มักขลิโคศาล
3. อชิตเกสกัมพล
4. ปกุธกัจจายนะ
5. สญชัยเวลัฏฐบุตร
6. นิครนถนาฏบุตร
--->> 1. ทรรศนะของปูรณกัสสปะ
ปูรณกัสสปะ เป็นเจ้าลัทธิเก่าแก่ผู้หนึ่ง มีความเห็นว่า วิญญาณเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายนี้เองเป็นเจ้าของพฤติกรรม วิญญาณไม่เกี่ยวข้องกับกรรมดีกรรมชั่วที่ร่างกายทำ แต่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ไร้เจตนา ดังนั้น เมื่อร่างกายทำสิ่งใด ๆ ลงไป จึงไม่จัดเป็นบุญบาปแต่อย่างใด บุคคลไม่จัดว่าได้ทำบุญเมื่อให้ทาน เป็นต้น และไม่จัดว่าได้ทำบาป เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม หรือพูดปด
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะของปูรณกัสสปะว่า “อกิริยวาท ” แปลว่า “กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ”
เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธพลังงาน ปฏิเสธกรรมไปด้วยพร้อมกัน ผู้มีทรรศนะดังกล่าวนี้เรียกว่า “อกิริยวาที” แปลว่า “ผู้กล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ” ขัดแย้งกับหลักกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เพระพระพุทธศาสนาสอนหลักกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว และถือว่าเป็นหลักเหตุผลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
**************************************************************************
--->> 2. ทรรศนะของมักขลิโคศาล
กล่าวกันว่า มักขลิโคศาลเป็นเจ้าลัทธิฝ่าย อาชีวก วันหนึ่งเห็นต้นข้าวที่คนเหยียบย่ำแล้วกลับงอกงามขึ้นมาอีก จึงเกิดความคิดว่า “สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะต้องกลับมีวิญญาณขึ้นมาอีก ไม่ตายไม่สลาย” และถือว่า “สัตว์ทั้งหลายขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ได้กำหนดไว้แล้ว” กระบวนการดังกล่าว เริ่มต้นจากระดับต่ำสุดไปหาจุดหมายที่สูงสุด เป็นกระบวนการที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับความร้อนมีระดับต่ำเป็นน้ำแข็ง และมีระดับสูงเป็นไฟ
มักขลิโคศาลปฏิเสธกรรมและพลังความเพียรว่าเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย สัตว์ทั้งหลายไม่ต้องทำความเพียร และไม่ต้องทำความดีเพื่ออะไร เพราะการบรรลุโมกษะไม่ได้สำเร็จด้วยความเพียรหรือด้วยกรรมใด ๆ สัตว์จะต้องเวียนว่ายตายเกิดจากภพสู่ภพไปโดยลำดับ เมื่อถึงภพสุดท้ายก็จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้เอง ความบริสุทธิ์ประเภทนี้เรียกว่า “สังสารสุทธิ” คือความบริสุทธิ์ที่ได้จากการเวียนว่ายตายเกิด กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ เช่นเดียวกับการคลี่เส้นด้ายออกจากกลุ่ม เมื่อจับปลายเส้นด้ายด้านนอกแล้วปากกลุ่มด้ายไป กลุ่มด้ายจะคลี่ออกจนถึงปลายด้านใน ปลายสุดด้านในของเส้นด้ายนั่นเอง เปรียบเหมือนความบริสุทธิ์ของสัตว์ หรือที่เรียกว่าโมกษะ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องของการโชคดีและเคราะห์ร้าย ไม่เกี่ยวกับกรรมดีและกรรมชั่วแต่อย่างใด สัตว์ประเภทอื่น ๆ จะเข้าถึงโมกษะได้ จำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ก่อนจึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะของมักขลิโคศาลว่า “อเหตุกวาทะ” คือกล่าวว่า “ความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ของสัตว์ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ” ทรรศนะของมักขลิโคศาลจัดเป็นอกิริยาวาทด้วย เพราะเป็นการปฏิเสธกรรมและผลของกรรมอยู่แล้วด้วย ทั้งยังเป็นอวิริยวาทด้วย เพราะปฏิเสธพลังความเพียรว่าเป็นสิ่งไร้ผลด้วย
**************************************************************************
--->> 3. ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล
ทรรศนะของอชิตเกสัมพล ตรงกับปรัชญาในยุคหลังคือวัตถุนิยม เป็นทรรศนะที่ปฏิเสธว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่มีชาติหน้า ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ปฏิเสธกรรมดีกรรมชั่ว ปฏิเสธพิธีกรรมทางศาสนาว่าไร้ผล ปฏิเสธความสมบูรณ์ทางจิต ไม่มีใครทำดีไม่มีใครทำชั่ว เพราะสัตว์ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงไม่มีสัตว์ใด ๆ คงมีแต่กลุ่มธาตุ ชาตินี้ของสัตว์สิ้นสุดลงที่การตาย ไม่มีอะไรเหลืออีกหลังจากตาย
ธาตุทั้งหลายเหล่านั้นทำหน้าที่ผลิตวิญญาณขึ้นมา เมื่อธาตุเหล่านั้นแยกจากกันสัตว์ก็สิ้นสุดกันแค่นั้น ไม่มีความดีความชั่ว ไม่มีโลกหน้าชาติหน้าต่อไปอีก ไม่มีสวรรค์หรือโลกทิพย์ที่ไหนอีก ไม่มีพระเจ้า โลกนี้ดำรงอยู่โดยตัวเอง วิญญาณและเจตนาของสัตว์เกิดจากธาตุ เช่นเดียวกับสุราที่เกิดจากการหมักดองเครื่องปรุง เมื่อทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ความตายจึงไม่จำเป็นต้องทำบุญเพื่อเป็นเสบียงไปชาติหน้า ทรรศนะนี้ปฏิเสธคัมภีร์พระเวทอย่างรุนแรง เป็นทรรศนะที่ชี้แนะว่า สัตว์จะแสวงหาความสุขแก่ตนด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้ ไม่ต้องทำสิ่งที่เคยเชื่อกันมาว่าจะอำนวยความสุขในชาติหน้า เพราะวิญญาณคือร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
พระพุทธศาสนาเรียกทรรศนะนี้ว่า “นัตถิกวาท” แปลว่า “กล่าวว่าไม่มีสัตว์บุคคล”
ทรรศนะของอชิตเกสกัมพล ตรงกับปรัชญาจารวากหรือวัตถุนิยม ยอมรับค่านิยมทางกามสุขเท่านั้น ไม่มีค่านิยมใด ๆ อีกที่เหมาะสมของมนุษย์ จึงเป็นทรรศนะที่ถูกตำหนิจากปรัชญาอื่นอย่างมาก
**************************************************************************
คำอธิบายสามัญญผลสูตรกล่าวว่า เจ้าลัทธิทั้ง 3 ดังกล่าวแล้วนั้น
--> ปูรณกัสปะกล่าวว่า เมื่อบุคคลทำบาป ไม่ชื่อว่าเป็นทำบาป จัดว่าเป็นการปฏิเสธกรรม
--> เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วหมดสิ้นกัน ไม่มีอะไรไปเกิดอีก จัดว่าเป็นการปฏิเสธผลของกรรม
--> เจ้าของลัทธิมักขลิโคศาลกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเองมีความบริสุทธิ์ได้เอง จัดว่าเป็นการปฏิเสธทั้งกรรมและผลของกรรม
เจ้าลัทธิปูรณกัสสะปะแม้ปฏิเสธแต่กรรม ก็จัดว่าปฏิเสธผลของกรรมไปด้วย
เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลเมื่อปฏิเสธผลของกรรมก็เป็นการปฏิเสธกรรมไปด้วยแล้ว
เพราะฉะนั้น โดยความหมายแล้ว เจ้าลัทธิทั้ง 3 จัดว่าเป็นทั้ง อกิริยาวาทอเหตุ และนัตถิกวาท เหมือน ๆ กัน เพราะปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม
-->> ฏีกาสามัญญผลสูตรกล่าวว่า...
เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะจัดว่าปฏิเสธกรรม เพราะกล่าวการทำว่าไม่เป็นอันทำ
เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพลจัดว่าปฏิเสธผลกรรม เพราะถือว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีกต่อไป
เจ้าลัทธิมักขลิโคศาลจัดว่าปฏิเสธทั้งกรรมและผลกรรม เพราะเมื่อทำการปฏิเสธเหตุก็เท่ากับปฏิเสธผลไปด้วยกัน เมื่อปฏิเสธเหตุของความเศร้าหมองและความบริสุทธิ์ ก็เป็นการปฏิเสธผลกรรมเสียแล้วด้วย เมื่อกรรมไม่มีผลกรรมก็ต้องไม่มีด้วย หรือเมื่อผลกรรมไม่มี ก็ต้องสืบเนื่องมาจากกรรมไม่มี
-->> คำอธิบายคัมภีร์ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า...
มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว ไม่ห้ามสวรรค์
บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์
มิจฉาทิฐิ 3 อย่างคือ
อกิริยทิฐิ และ นัตถิกทิฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค
มิจฉาทิฐิถึงที่สุด 10 อย่าง คือการยึดถือว่า โลกเที่ยง เป็นต้น จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ
ส่วนสักกายทิฐิ 20 มีเห็นรูปว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นลักษณะ 4 อย่างในขันธ์ 5 รวมเป็น 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ และเมื่อเกิดความรู้จัดแจ้งตามเป็นจริง ก็บรรลุมรรคผลได้
2 มกราคม 2557 เวลา 15:38 น.