ทางหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิง
#ธรรม๕ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบเพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียวธรรม๕ประการเป็นไฉนคือภิกษุในธรรมวินัยนี้ #ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย๑มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร๑มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง๑พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง๑ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
--------------------
นิพพิทาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๙๓๒ - ๑๙๔๒. หน้าที่ ๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2...
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/a... เราอย่าไปวาดภาพให้มันยุ่งยาก ธรรมะไม่ใช่ของลึกลับ พวกเราชอบคิดว่าธรรมะคืออะไรก็ไม่รู้ ลึกลับ รู้แต่ว่ามันเป็นของดี เราคิดแต่ว่ามันอยู่ไกลๆ เราต้องทำอีกนานๆถึงจะเจอ เราชอบคิดว่าธรรมะอยู่ที่วัด ธรรมะอยู่ที่พระ หรือธรรมะอยู่ที่การเข้าคอร์ส แท้จริงธรรมะไม่ได้พิกลพิการยากไร้ขนาดนั้นหรอก
ธรรมะอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่เกิด ถ้าพวกเราอยากได้ธรรมะเนี่ย ให้ย้อนมาเรียนที่ตัวธรรมะจริงๆ อะไรเป็นตัวธรรมะตัวจริง กายนี้แหละเป็นธรรมะเรียกว่ารูปธรรม ชื่อมันบอกอยู่แล้วว่ามันเป็นธรรมะ เรียกว่ารูปธรรม ใจของเรานี้แหละเป็นธรรมะ เรียกว่านามธรรม อย่าไปแสวงหาธรรมะที่อื่น หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอนะ จะมาฟังอาตมาพูดกี่วันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ธรรมะ(แท้ๆ – ผู้ถอด)เรียนไม่ได้ด้วยการฟัง เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน เรียนไม่ได้ด้วยการคิดๆเอา ทางเดียวที่จะเรียนธรรมะได้นี่นะ คือต้องเรียนจากครูของเราจริงๆ ครูที่จะสอนธรรมะเราได้มีสองคนเท่านั้น คือ รูปกับนามหรือกายกับใจของเรานี่เอง
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือ ให้คอยรู้ลงที่กายคอยรู้ลงที่ใจเนืองๆ กายและใจจะสอนธรรมะของจริงให้เราดู คนส่วนใหญ่เที่ยวหาธรรมะภายนอก ก็มีแต่หลงออกไปภายนอก ละเลยที่จะเรียนรู้เรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พระพุทธเจ้าสอนให้น้อมเข้ามา โอปนยิโก น้อมกลับเข้ามา มาเรียนเรื่องของตัวเราเอง เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นธรรมะในตำราอภิธรรมจะสอน บอกว่าต้องรู้รูปนามต้องรู้กายรู้ใจนะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
--------------------
นิพพิทาสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๙๓๒ - ๑๙๔๒. หน้าที่ ๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2...
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/a... เราอย่าไปวาดภาพให้มันยุ่งยาก ธรรมะไม่ใช่ของลึกลับ พวกเราชอบคิดว่าธรรมะคืออะไรก็ไม่รู้ ลึกลับ รู้แต่ว่ามันเป็นของดี เราคิดแต่ว่ามันอยู่ไกลๆ เราต้องทำอีกนานๆถึงจะเจอ เราชอบคิดว่าธรรมะอยู่ที่วัด ธรรมะอยู่ที่พระ หรือธรรมะอยู่ที่การเข้าคอร์ส แท้จริงธรรมะไม่ได้พิกลพิการยากไร้ขนาดนั้นหรอก
ธรรมะอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่เกิด ถ้าพวกเราอยากได้ธรรมะเนี่ย ให้ย้อนมาเรียนที่ตัวธรรมะจริงๆ อะไรเป็นตัวธรรมะตัวจริง กายนี้แหละเป็นธรรมะเรียกว่ารูปธรรม ชื่อมันบอกอยู่แล้วว่ามันเป็นธรรมะ เรียกว่ารูปธรรม ใจของเรานี้แหละเป็นธรรมะ เรียกว่านามธรรม อย่าไปแสวงหาธรรมะที่อื่น หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอนะ จะมาฟังอาตมาพูดกี่วันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ธรรมะ(แท้ๆ – ผู้ถอด)เรียนไม่ได้ด้วยการฟัง เรียนไม่ได้ด้วยการอ่าน เรียนไม่ได้ด้วยการคิดๆเอา ทางเดียวที่จะเรียนธรรมะได้นี่นะ คือต้องเรียนจากครูของเราจริงๆ ครูที่จะสอนธรรมะเราได้มีสองคนเท่านั้น คือ รูปกับนามหรือกายกับใจของเรานี่เอง
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือ ให้คอยรู้ลงที่กายคอยรู้ลงที่ใจเนืองๆ กายและใจจะสอนธรรมะของจริงให้เราดู คนส่วนใหญ่เที่ยวหาธรรมะภายนอก ก็มีแต่หลงออกไปภายนอก ละเลยที่จะเรียนรู้เรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร พระพุทธเจ้าสอนให้น้อมเข้ามา โอปนยิโก น้อมกลับเข้ามา มาเรียนเรื่องของตัวเราเอง เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นธรรมะในตำราอภิธรรมจะสอน บอกว่าต้องรู้รูปนามต้องรู้กายรู้ใจนะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น