五木ひろし 沓掛時次郎[人生,歌がある]https://www.youtube.com/watch?v=H3PrI-OWAJ8 มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ. ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ถ้าเราเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง เราจะรู้เลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของว­ิเศษ ไม่ใช่ของที่น่ารักน่าหวงแหน มันเป็นภาระทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ถ้าเราได้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนใจเรายอมรับความจริงได้ ความยึดถือจะหมดไป พระพุทธเจ้าจึงสอนบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริง จึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คือคลายความรักใคร่ยึดถือ เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว #ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงนี้แหล่ะคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่­งทั้งปวงตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­ว่าสังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อ#จิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละคือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น #แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผลบางคนเมื่อภาวนาไปจนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้นจิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางไปสู่พระนิพพาน 18 ธ ค 57 ค่ำ โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย ณ สวนแสงธรรม

การเกิดมรรคผล

มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี#จิตก็ทรงสติปัญญามากขึ้นๆนะ #ตอนที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ยไม่ได้ไปรู้รูปนามหรอก #จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิตัดการรับรู้ที่แผ่กว้างออกทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตัดการรับรู้อันนั้นออกแล้วรวมลงมาที่ใจอันเดียวเห็นไหมสมาธิสำคัญนะ ที่เราฝึกให้มีตัวรู้ๆ เวลาเกิดอริยมรรคมันมาเกิดที่ตัวรู้นี่แหละไม่ไปเกิดที่อื่นหรอก ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มีแต่ตัวร่อนเร่ ไปเกิดที่โน่นที่นี่ นั่นเรียกเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดที่อื่น งั้นเราฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมา ท่านจึงสอนในอภิธรรมสอน สัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่รองรับองค์มรรคทั้ง ๗ ที่เหลือเข้าด้วยกัน เป็นที่ประชุมขององค์มรรค งั้นจิตประชุมที่ไหน? ประชุมที่จิต ประชุมด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ จิตที่มันตั้งมั่น แล้วสติเกิดที่ไหน? ที่จิต สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาทั้งหลายแหล่เกิดลงที่จิตอันเดียวเลย ประชุมลงที่จิตอันเดียวเลย สัมมาวาจาไม่ได้ไปอยู่ที่ปากแล้ว แต่อยู่ที่จิต สังเกตไหมก่อนปากพูดจิตพูดก่อน สัมมาวาจาตอนที่อริยมรรคเกิดมันพูดอะไรรู้ไหม? มันพูดอย่างนี้ “ ” ได้ยินไหม เนี่ยสัมมาวาจา ถ้ายังอ้าแง๊บๆๆๆเนี่ยมิจฉาวาจานะ งั้นประชุมลงที่จิตเลย องค์มรรค ๘ ประการรวมลงที่จิตอันเดียวด้วยอำนาจของสัมมาสมาธินั่นเองนะ ตรงนี้อัตโนมัติทั้งหมดเลย สติระลึกรู้อยู่แค่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่นอยู่กับจิตโดยไม่เจตนาตั้งมั่น ปัญญานี่หยั่งซึ้งลงไปในจิต เห็นการทำงานภายในจิตอีกโดยไม่เจตนา สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงที่เดียวนี้เอง อริยมรรคก็เกิด ถ้ายังกระจายๆอยู่ไม่เกิดอริยมรรค อริยมรรคมีองค์ ๘ ถามว่าอริยมรรคมีเท่าไหร่ มี ๑ เท่านั้นนะ เวลาเกิดอริยมรรคมี ๑ เท่านั้น แต่มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง มรรคไม่ได้มี ๘ มรรคนะ แต่ว่าการเกิดอริยมรรคจะเกิด ๔ ครั้ง โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรค มรรคแต่ละครั้งเกิด ๑ ขณะจิตเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะจิต