วิธีการเข้าถึงพระนิพพานบันได 3 ขั้นสู่การ บรรลุนิพพาน ด้วยตัวเอง นิพพานคือประโยชร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา หลายคนก็เกิดแรงบันดาลใจขวนขวายปฏิบัติธรรมหวังจะ บรรลุนิพพาน ด้วยตัวเอง โดยคิดว่าไม่อยากรอชาติหน้าแล้ว อยากได้ประโยชน์จากนิพพานตอนนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ แต่ไม่รู้วิธีปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่นิพพานโดยแท้จริงอย่างถูกวิธี ลองมาดูกันว่าหนทางบรรลุนิพพานด้วยตัวเอง ต้องทำอย่างไรบ้าง Advertisement ศีล ทำใจให้สะอาด เรารักษาศีลเพื่อลดความเห็นแก่ตัว และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น สำหรับฆราวาสอาจเริ่มตัวด้วยศีล 5 หรือศีล 8 เป็นเครื่องมือทำให้ชีวิตสงบเย็นและเรียบง่าย แต่ถึงแม้ศีลจะไม่สมบูรณ์ เราก็ไม่ควรเป็นทุกข์กับมัน สมมติเราบังเอิญทำมดตายตัวหนึ่งก็อย่ามัวเสียอกเสียใจจนไม่เป็นอันทำอะไร ให้วางความเสียใจลงแล้วตั้งใจว่าจะระวังให้มากขึ้น เราอาจเคยโกหกด้วยความเผลอ ก็ไม่ควรตำหนิตัวเองซำแล้วซ้ำเล่าแต่ควรตั้งสติให้ดีทุกครั้งที่พูด คนที่รักษาศีลไม่เป็นมี 2 ลักษณะ คือ พวกหนึ่งถ้าศีลพร่องจะรู้สึกผิดตลอดเวลา อีกพวกหนึ่งถ้าศีลครบก็เกิดความหลงตน ซึ่งไม่ดีทั้งสองอย่าง การรักษาศีลที่ถูกต้องย่อมประกอบไปด้วยปัญญา คือเข้าใจจุดมุ่งหมายของศีล ถ้าเรารักษาศีลได้ถูกต้องก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรม การถือศีลแล้วยกตนข่มผู้อื่นเป็นสิ่งที่ควรละ คือคิดว่าถ้าถือศีลได้เป๊ะๆ แล้วจะทำให้ตนบริสุทธิ์หรือวิเศษ สวดมนต์ต้องไม่พลาดแม้แต่คำเดียวเพราะจะทำให้ขาดความศักดิ์สิทธิ์ เช่นนี้เรียกว่าเข้าไม่ถึงแก่นของศีล แทนที่จะปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กลับไปยึดติดลูบคลำอยู่แต่เปลือกภายนอกเท่านั้น โดยแก่นแท้แล้ว ศีลเป็นแบบฝึกหัดเพื่อขัดเกลาตัวเองให้มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง Advertisement สมาธิ ทำจิตใจให้สงบ คนเรามักไปจมอยู่กับความคิดในอดีตหรือไม่ก็กังวลกับอนาคต น้อยครั้งที่เราจะอยู่กับปัจจุบันหรือลมหายใจเข้า-ออก รับรู้ถึงกายที่กำลังเคลื่อนไหวหรือใจที่กำลังนึกคิด ซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อทำให้จิตใจสงบอย่างแท้จริง สมาธิสำหรับคนทั่วไปอาจเริ่มต้นด้วยการใช้ชีวิตเรียบง่าย บางทีก็ใช้คำว่าสันโดษ เมื่อมีชีวิตเรียบง่าย จิตใจก็สงบเงียบ หากจิตใจไม่ร่ำร้องเรียกหาอยากได้โน่นอยากได้นี่ จิตก็จะสงบ เมื่อสงบแล้ว โอกาสที่จะมีสมาธิและปัญญาก็จะตามมา ปัญญา ทำให้ใจสว่าง ปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญมากการบรรลุนิพพาน เพราะปัญญาทำให้เห็นความจริง เห็นสัจธรรมว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญารู้แจ้งในพระไตรลักษณ์สำคัญมากและมีอยู่ 3 ลักษณะคือ 1.ปัญญาเกิดจากการฟัง 2.ปัญญาเกิดจากการคิดไตร่ตรอง 3.ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ เช่น เมื่อก่อนเราไม่รู้ว่าเศษแก้วมันคม เราก็กำเอาไว้เพราะคิดว่าเป็นเพชรเป็นพลอย แต่เมื่อเห็นความจริงว่าเป็นเพียงเศษแก้วไร้ค่า แถมยังทำให้เราเจ็บปวดเพราะบาดมือ เราก็ปล่อยทันที ปล่อยเพราะเราเห็นแต่โทษ เห็นว่ามันทำให้เจ็บปวด เรียกว่าเกิดปัญญาเห็นความจริง ส่วนหนึ่งจากหนังสือ นิพพาน…ที่นี่…เดี๋ยวนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางไปสู่พระนิพพาน 18 ธ ค 57 ค่ำ โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย ณ สวนแสงธรรม

การเกิดมรรคผล

มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี#จิตก็ทรงสติปัญญามากขึ้นๆนะ #ตอนที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ยไม่ได้ไปรู้รูปนามหรอก #จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิตัดการรับรู้ที่แผ่กว้างออกทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตัดการรับรู้อันนั้นออกแล้วรวมลงมาที่ใจอันเดียวเห็นไหมสมาธิสำคัญนะ ที่เราฝึกให้มีตัวรู้ๆ เวลาเกิดอริยมรรคมันมาเกิดที่ตัวรู้นี่แหละไม่ไปเกิดที่อื่นหรอก ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มีแต่ตัวร่อนเร่ ไปเกิดที่โน่นที่นี่ นั่นเรียกเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดที่อื่น งั้นเราฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมา ท่านจึงสอนในอภิธรรมสอน สัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่รองรับองค์มรรคทั้ง ๗ ที่เหลือเข้าด้วยกัน เป็นที่ประชุมขององค์มรรค งั้นจิตประชุมที่ไหน? ประชุมที่จิต ประชุมด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ จิตที่มันตั้งมั่น แล้วสติเกิดที่ไหน? ที่จิต สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาทั้งหลายแหล่เกิดลงที่จิตอันเดียวเลย ประชุมลงที่จิตอันเดียวเลย สัมมาวาจาไม่ได้ไปอยู่ที่ปากแล้ว แต่อยู่ที่จิต สังเกตไหมก่อนปากพูดจิตพูดก่อน สัมมาวาจาตอนที่อริยมรรคเกิดมันพูดอะไรรู้ไหม? มันพูดอย่างนี้ “ ” ได้ยินไหม เนี่ยสัมมาวาจา ถ้ายังอ้าแง๊บๆๆๆเนี่ยมิจฉาวาจานะ งั้นประชุมลงที่จิตเลย องค์มรรค ๘ ประการรวมลงที่จิตอันเดียวด้วยอำนาจของสัมมาสมาธินั่นเองนะ ตรงนี้อัตโนมัติทั้งหมดเลย สติระลึกรู้อยู่แค่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่นอยู่กับจิตโดยไม่เจตนาตั้งมั่น ปัญญานี่หยั่งซึ้งลงไปในจิต เห็นการทำงานภายในจิตอีกโดยไม่เจตนา สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงที่เดียวนี้เอง อริยมรรคก็เกิด ถ้ายังกระจายๆอยู่ไม่เกิดอริยมรรค อริยมรรคมีองค์ ๘ ถามว่าอริยมรรคมีเท่าไหร่ มี ๑ เท่านั้นนะ เวลาเกิดอริยมรรคมี ๑ เท่านั้น แต่มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง มรรคไม่ได้มี ๘ มรรคนะ แต่ว่าการเกิดอริยมรรคจะเกิด ๔ ครั้ง โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรค มรรคแต่ละครั้งเกิด ๑ ขณะจิตเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะจิต