สัจจะอันประเสริฐยิ่งดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่ง ที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาทความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตายจักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่อง สำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่าพระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาดซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุแต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด ฯ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางไปสู่พระนิพพาน 18 ธ ค 57 ค่ำ โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย ณ สวนแสงธรรม

การเกิดมรรคผล

มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี#จิตก็ทรงสติปัญญามากขึ้นๆนะ #ตอนที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ยไม่ได้ไปรู้รูปนามหรอก #จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิตัดการรับรู้ที่แผ่กว้างออกทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตัดการรับรู้อันนั้นออกแล้วรวมลงมาที่ใจอันเดียวเห็นไหมสมาธิสำคัญนะ ที่เราฝึกให้มีตัวรู้ๆ เวลาเกิดอริยมรรคมันมาเกิดที่ตัวรู้นี่แหละไม่ไปเกิดที่อื่นหรอก ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มีแต่ตัวร่อนเร่ ไปเกิดที่โน่นที่นี่ นั่นเรียกเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดที่อื่น งั้นเราฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมา ท่านจึงสอนในอภิธรรมสอน สัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่รองรับองค์มรรคทั้ง ๗ ที่เหลือเข้าด้วยกัน เป็นที่ประชุมขององค์มรรค งั้นจิตประชุมที่ไหน? ประชุมที่จิต ประชุมด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ จิตที่มันตั้งมั่น แล้วสติเกิดที่ไหน? ที่จิต สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาทั้งหลายแหล่เกิดลงที่จิตอันเดียวเลย ประชุมลงที่จิตอันเดียวเลย สัมมาวาจาไม่ได้ไปอยู่ที่ปากแล้ว แต่อยู่ที่จิต สังเกตไหมก่อนปากพูดจิตพูดก่อน สัมมาวาจาตอนที่อริยมรรคเกิดมันพูดอะไรรู้ไหม? มันพูดอย่างนี้ “ ” ได้ยินไหม เนี่ยสัมมาวาจา ถ้ายังอ้าแง๊บๆๆๆเนี่ยมิจฉาวาจานะ งั้นประชุมลงที่จิตเลย องค์มรรค ๘ ประการรวมลงที่จิตอันเดียวด้วยอำนาจของสัมมาสมาธินั่นเองนะ ตรงนี้อัตโนมัติทั้งหมดเลย สติระลึกรู้อยู่แค่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่นอยู่กับจิตโดยไม่เจตนาตั้งมั่น ปัญญานี่หยั่งซึ้งลงไปในจิต เห็นการทำงานภายในจิตอีกโดยไม่เจตนา สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงที่เดียวนี้เอง อริยมรรคก็เกิด ถ้ายังกระจายๆอยู่ไม่เกิดอริยมรรค อริยมรรคมีองค์ ๘ ถามว่าอริยมรรคมีเท่าไหร่ มี ๑ เท่านั้นนะ เวลาเกิดอริยมรรคมี ๑ เท่านั้น แต่มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง มรรคไม่ได้มี ๘ มรรคนะ แต่ว่าการเกิดอริยมรรคจะเกิด ๔ ครั้ง โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรค มรรคแต่ละครั้งเกิด ๑ ขณะจิตเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะจิต