จิตปล่อยวางจิต ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพานผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต, โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ขั้นสมาธิ การมีสติอยู่ในกิจหรืองานหรือธรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงแจงถึงโทษด้วยเช่นกันดังในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันเป็นสุขอย่างละเอียดประณีตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติซึ่งถ้าติดเพลินแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องละเช่นกัน อันจัดอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ, การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด มิใช่ทิ้งฌานหรือสมาธิ) ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล, เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่ หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ สุขิโน วต อรหนฺโต, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ, อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด, ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน. อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ, โลเก อนุปลิตฺตา เต, พฺรหฺมภูตา อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง. ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา สปฺปุริสา, ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา, มหานาคา สมาหิตา, เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง. อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโย, โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา, เต โลเก วิชิตาวิโน. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ, นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ นทนฺติ เต สีหนาทํ, พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางไปสู่พระนิพพาน 18 ธ ค 57 ค่ำ โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย ณ สวนแสงธรรม

สภาพของเรา#พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี #เรียกว่าละสกายทิฐิได้ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะกายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก #สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลาก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเนี่ยไม่ได้ยากเท่าไหร่ แค่รู้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจ แต่ยังยึดถืออยู่ ทำไมไม่เห็นว่าเป็นเรา แล้วยังยึดถือได้ คล้ายๆ คนที่ยืมของคนอื่นเค้ามาใช้นะ สมมุติหลวงพ่อไปยืมรถยนต์ ของคุณอนุรุธมาใช้ซักคันนึง โอ้...รถคันนี้มันโก้จังนะ เรามีแต่รถกระบะ นี่รถเค้าสวย ยืมมาใช้นาน จนหลงไปว่าเป็นรถของเราเอง ยืมเค้ามานาน จนเราคิดว่าเป็นของเราเอง เหมือนกายนี้ใจนี้ เรายืมของโลกมาใช้ ยืมมานานจนสำคัญผิดว่าเป็นของเราเอง วันหนึ่งเป็นพระโสดาบัน รู้แล้วว่ากายนี้ใจนี้เป็นของโลกนะไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราหรอก ก็จะคล้ายๆคนขี้งกอ่ะ รู้แล้วว่ารถคันนี้ไมใช่ของเรานะ แต่มันดีนะ เอาไว้ก่อน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันยังมีอารมณ์ขี้งกอยู่ ยังไม่ปล่อยวางกายวางใจจริงนะ ต้องมาเรียนรู้กายรู้ใจให้หนักเข้าอีก ดูไปเรื่อย วันหนึ่งเกิดปัญญาขึ้นมา ก็เห็นมันเป็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไป ก็ยอมคืนเจ้าของ คืนให้โลกไป นี่ ฮ นกฮูกนะ มีหลัง ฮ นกฮูกอีก after ฮ นกฮูก คือภาวะซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ จิตใจซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ มันจะบอกว่ามีความสุขมันก็ไม่เหมือนนะ มันไม่รู้จะเทียบกับอะไร มันสุขเพราะไม่มีอะไรเสียดแทง เป็นสุขเพราะเป็นอิสระ จิตใจปลอดโปร่งโล่งเบาอยู่ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่นนะ มันมีแต่ความสุขอย่างงั้น สุขเพราะพ้นความปรุงแต่ง สุขเพราะพ้นกิเลส สุขเพราะไม่มีภาระที่จะต้องไปยึดถืออะไร ใจมันโล่ง

ตามหลวงพ่อไปทางนิพพาน-พุทโธอัปมาโณ www.tangnipparn.com/ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ หากข้าพระพุทธเจ้า ... วิดีโอ 7:59 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 3 พ.ค. 2559 1:51 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 12 มิ.ย. 2560 28:48 ทางนิพพาน Sompong Tungmepol YouTube - 13 ส.ค. 2561 57:31 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 6 ต.ค. 2559 9:58 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 11 ก.ค. 2561 24:17 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 2 พ.ค. 2559 1:00:53 ทางนิพพาน Sompong Tungmepol YouTube - 8 ส.ค. 2561 27:51 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 2 ก.ย. 2561 7:53 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 22 พ.ค. 2561 6:09 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 24 ก.ย. 2561 ผลการค้นเว็บ ทางนิพพาน www.silpathai.net/ทางนิพพาน/ 23 พ.ย. 2558 - เมื่อทราบทางมนุษย์ ทางสุคติ ทางทุคติ ทางสวรรค์ ทางนรกแล้ว ก็ควรทราบทางไปนิพพานต่อไป. ทางนิพพาน บางคนมีธุลีในนัยน์ตาน้อย คือมีกิเลสบาง ... ทางนิพพาน - หน้าหลัก | Facebook https://th-th.facebook.com › เพจ › อื่นๆ › ชุมชน ทางนิพพาน. ถูกใจ 1913 คน · 1 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. .. มาเถิด มาช่วยกันแผ้วถางทางเดิน สู่พระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งธรรม. ทางสู่นิพพานมีกี่สายคะ - Pantip https://pantip.com/topic/31350366 ไปงานวิทยาศาสตร์ทางจิตมา มีวิทยากรท่านหนึ่งบอก คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทางสู่ินิพพานมีแต่การฝึกสติปัฎฐาน 4 เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ (เ่ช่น กสิณก็ไปได้เหม. การปฏิบัติจิตใจตนให้เข้าสู่บันไดพระนิพพาน - Luangpochom::หลวงพ่อชม www.luangpochom.com/pochom75_2.htm ขั้นที่ ๕ คือให้ทำจิตให้ว่าง วางเฉยเสีย. ห้าขั้นนี้เป็นบันไดเข้าสู่พระนิพพาน ให้จิตใจเราผู้ปฏิบัติขึ้นตามสายทางบันไดดังที่กล่าวมานี้ ถึงจะเป็นบันไดทางพระนิพพานโดยถูกต้อง ... ทางนิพพาน - Самые популярные видео - Nam Video https://namvideo.com/watch/If0yVR_-Fs0 วิดีโอสำหรับ ทางนิพพาน▶ 31:42 2 วันที่ผ่านมา - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol ผู้ที่สำรวมมือสำรวมเท้าสำรวมวาจาสำรวมตน #ยินดีในอารมณ์ภายในมีจิตตั้งมั่นอยู่ผู้เดียว#สันโดษบัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ... สวนทางนิพพาน - ผลการค้นหาของ Google Books https://books.google.co.th/books?isbn=9740212301 เสฐียรพงษ์ วรรณปก - 2014 - ‎Juvenile Nonfiction ... สาระความรู้ที่ผู้เขียนนําเสนอในเล่มนี ล้วนตั้งอยู่บนเส้นทางที่ มุ่งตรงไปสู่พระนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทว่า ความตั้งใจของผู้เขียนทีตังชื่อ “สวนทางนิพพาน” ... สวนทางนิพพาน - SE-ED.com https://www.se-ed.com/product/สวนทางนิพพาน.aspx?no=9789740212300 สวนทางนิพพาน ศึกษาพุทธประวัติ เรียนรู้วิถีปฏิบัติจากพระสงฆ์ มุ่งตรงสู่หลักธรรมคำสอน แต่งโดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก สำนักพิมพ์ มติชน สนพ.