สัจจะอันประเสริฐยิ่งดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่ากำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่ง ที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาทความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่าไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้กล่าวแล้ว ฯ [๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตายจักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่อง สำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ ของเราไว้เถิด ฯ [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่าพระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาดซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุแต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด ฯ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางไปสู่พระนิพพาน 18 ธ ค 57 ค่ำ โดยหลวงพ่ออินทร์ถวาย ณ สวนแสงธรรม

สภาพของเรา#พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี #เรียกว่าละสกายทิฐิได้ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะกายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก #สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลาก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใช่เรา แต่ส่วนมากก็ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกาย ไม่มีเราในจิต ก็ได้ธรรมะ เป็นปลอดภัย ไม่ไปอบายละ ชีวิตมีความสุข มีความสงบ มีความมั่นคง กิเลสหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ทีนี้ทำยังไง เราจะสามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรานะ เรามาดูของจริง การดูของจริงของกายของใจเรียกว่า “การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน” การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่เห็นกายเห็นใจนะ พวกเราอย่าตื้น บางคนตื้นเกินไป คิดว่าแค่รู้กาย แค่รู้ใจก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน....ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐานต้องเห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังก็คือสิ่งซึ่งมันเคยมีแล้วมันไม่มี สิ่งซึ่งเคยไม่มีมันกลับมีขึ้นมานี่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง คือ มันทนอยู่ไม่ได้นะ มันถูกสภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของมันเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนไป พอเหตุของมันเปลี่ยนนะ ตัวมันทนอยู่ไม่ได้นะ ถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ในภาวะอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา ก็คือ มันจะเกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป เป็นไปเพราะเหตุ ไม่ใช่เพราะเราสั่ง เราบังคับไม่ได้ อยู่นอกเหนือการบังคับ นี่เรียกได้ว่าอนัตตา ถ้าสามารถเห็นได้ว่า กายนี้ใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่ง ไม่ต้องเห็นทั้งสามอย่าง เห็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตก็สามารถปล่อยวาง ความยึดถือกายยึดถือใจได้ในที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็จะเห็นก่อนว่า กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ถึงจะเห็นว่าไม่ใช่เราแต่ก็ยังไม่ปล่อยวาง พระโสดาบันเนี่ย ท่านเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา กายนี้เป็นวัตถุธาตุที่ยืมโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุเรียกว่าธาตุรู้ ธาตุรู้เนี่ยเกิดดับๆ สืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ท่านยังยึดถืออยู่นะ ยังเห็นว่า กายนี้ใจนี้ยังนำความดีงามมาให้ได้ ยังรักมันอยู่ ยังนำความสุขมาให้ได้ ต้องเจริญสติต่อไปอีกนะ รู้กายรู้ใจๆ เรื่อยไป ถึงวันหนึ่ง ถึงจะเห็นความจริงว่า กายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่ใช่ตัวเรา บังคับมันไม่ได้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับ ถ้าเห็นอย่างนี้นะก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเนี่ยไม่ได้ยากเท่าไหร่ แค่รู้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจ แต่ยังยึดถืออยู่ ทำไมไม่เห็นว่าเป็นเรา แล้วยังยึดถือได้ คล้ายๆ คนที่ยืมของคนอื่นเค้ามาใช้นะ สมมุติหลวงพ่อไปยืมรถยนต์ ของคุณอนุรุธมาใช้ซักคันนึง โอ้...รถคันนี้มันโก้จังนะ เรามีแต่รถกระบะ นี่รถเค้าสวย ยืมมาใช้นาน จนหลงไปว่าเป็นรถของเราเอง ยืมเค้ามานาน จนเราคิดว่าเป็นของเราเอง เหมือนกายนี้ใจนี้ เรายืมของโลกมาใช้ ยืมมานานจนสำคัญผิดว่าเป็นของเราเอง วันหนึ่งเป็นพระโสดาบัน รู้แล้วว่ากายนี้ใจนี้เป็นของโลกนะไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราหรอก ก็จะคล้ายๆคนขี้งกอ่ะ รู้แล้วว่ารถคันนี้ไมใช่ของเรานะ แต่มันดีนะ เอาไว้ก่อน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันยังมีอารมณ์ขี้งกอยู่ ยังไม่ปล่อยวางกายวางใจจริงนะ ต้องมาเรียนรู้กายรู้ใจให้หนักเข้าอีก ดูไปเรื่อย วันหนึ่งเกิดปัญญาขึ้นมา ก็เห็นมันเป็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไป ก็ยอมคืนเจ้าของ คืนให้โลกไป นี่ ฮ นกฮูกนะ มีหลัง ฮ นกฮูกอีก after ฮ นกฮูก คือภาวะซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ จิตใจซึ่งมันสิ้นทุกข์ไปแล้วนะ มันจะบอกว่ามีความสุขมันก็ไม่เหมือนนะ มันไม่รู้จะเทียบกับอะไร มันสุขเพราะไม่มีอะไรเสียดแทง เป็นสุขเพราะเป็นอิสระ จิตใจปลอดโปร่งโล่งเบาอยู่ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่นนะ มันมีแต่ความสุขอย่างงั้น สุขเพราะพ้นความปรุงแต่ง สุขเพราะพ้นกิเลส สุขเพราะไม่มีภาระที่จะต้องไปยึดถืออะไร ใจมันโล่ง

ตามหลวงพ่อไปทางนิพพาน-พุทโธอัปมาโณ www.tangnipparn.com/ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ หากข้าพระพุทธเจ้า ... วิดีโอ 7:59 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 3 พ.ค. 2559 1:51 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 12 มิ.ย. 2560 28:48 ทางนิพพาน Sompong Tungmepol YouTube - 13 ส.ค. 2561 57:31 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 6 ต.ค. 2559 9:58 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 11 ก.ค. 2561 24:17 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 2 พ.ค. 2559 1:00:53 ทางนิพพาน Sompong Tungmepol YouTube - 8 ส.ค. 2561 27:51 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 2 ก.ย. 2561 7:53 ทางนิพพาน หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย YouTube - 22 พ.ค. 2561 6:09 ทางนิพพาน สมพงศ์ อินดัสเตรียล... YouTube - 24 ก.ย. 2561 ผลการค้นเว็บ ทางนิพพาน www.silpathai.net/ทางนิพพาน/ 23 พ.ย. 2558 - เมื่อทราบทางมนุษย์ ทางสุคติ ทางทุคติ ทางสวรรค์ ทางนรกแล้ว ก็ควรทราบทางไปนิพพานต่อไป. ทางนิพพาน บางคนมีธุลีในนัยน์ตาน้อย คือมีกิเลสบาง ... ทางนิพพาน - หน้าหลัก | Facebook https://th-th.facebook.com › เพจ › อื่นๆ › ชุมชน ทางนิพพาน. ถูกใจ 1913 คน · 1 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. .. มาเถิด มาช่วยกันแผ้วถางทางเดิน สู่พระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งธรรม. ทางสู่นิพพานมีกี่สายคะ - Pantip https://pantip.com/topic/31350366 ไปงานวิทยาศาสตร์ทางจิตมา มีวิทยากรท่านหนึ่งบอก คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทางสู่ินิพพานมีแต่การฝึกสติปัฎฐาน 4 เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ (เ่ช่น กสิณก็ไปได้เหม. การปฏิบัติจิตใจตนให้เข้าสู่บันไดพระนิพพาน - Luangpochom::หลวงพ่อชม www.luangpochom.com/pochom75_2.htm ขั้นที่ ๕ คือให้ทำจิตให้ว่าง วางเฉยเสีย. ห้าขั้นนี้เป็นบันไดเข้าสู่พระนิพพาน ให้จิตใจเราผู้ปฏิบัติขึ้นตามสายทางบันไดดังที่กล่าวมานี้ ถึงจะเป็นบันไดทางพระนิพพานโดยถูกต้อง ... ทางนิพพาน - Самые популярные видео - Nam Video https://namvideo.com/watch/If0yVR_-Fs0 วิดีโอสำหรับ ทางนิพพาน▶ 31:42 2 วันที่ผ่านมา - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol ผู้ที่สำรวมมือสำรวมเท้าสำรวมวาจาสำรวมตน #ยินดีในอารมณ์ภายในมีจิตตั้งมั่นอยู่ผู้เดียว#สันโดษบัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ... สวนทางนิพพาน - ผลการค้นหาของ Google Books https://books.google.co.th/books?isbn=9740212301 เสฐียรพงษ์ วรรณปก - 2014 - ‎Juvenile Nonfiction ... สาระความรู้ที่ผู้เขียนนําเสนอในเล่มนี ล้วนตั้งอยู่บนเส้นทางที่ มุ่งตรงไปสู่พระนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทว่า ความตั้งใจของผู้เขียนทีตังชื่อ “สวนทางนิพพาน” ... สวนทางนิพพาน - SE-ED.com https://www.se-ed.com/product/สวนทางนิพพาน.aspx?no=9789740212300 สวนทางนิพพาน ศึกษาพุทธประวัติ เรียนรู้วิถีปฏิบัติจากพระสงฆ์ มุ่งตรงสู่หลักธรรมคำสอน แต่งโดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก สำนักพิมพ์ มติชน สนพ.