บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2019
ชีวิตเป็นของที่เราไม่รู้จัก :: หลวงพ่อปราโมทย์ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๖๑ (ไฟล์ 611231...ฤดูหนาวนกจะร้องเยอะ นกมันจะจับคู่ มีกาเหว่าหลายตัวร้องแข่งกัน ประกาศอาณาเขต นกร้องไม่หยุดปากเลย คล้าย ๆ พวกเรา ฉอด ๆๆๆ เพราะมันหลงเก่ง มันถึงได้เป็นสัตว์เดรัจฉาน พยายามรู้สึกตัวเรื่อย ๆ จะได้ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีสติคุ้มครองรักษาจิตไป ได้เป็นเทวดา ได้เป็นมนุษย์ มีอยู่ ๒ ภูมิ ที่พวกเราจะไปอยู่ได้ คือ เป็นเทวดากับมนุษย์ ถ้ามีฌาน ก็มีโอกาสได้ ๓ ภูมิ คือเทวดา พรหม แล้วก็มนุษย์ เป็นได้ ถ้ามีแต่กิเลสเยอะแยะ ตายไปด้วยอำนาจกิเลส ก็ไปอบาย สังเกตไหม สัตว์ฝูงหนึ่งเยอะแยะเลย อย่างปลาฝูงหนึ่ง เยอะเลย เป็นร้อยเป็นพัน สัตว์เดรัจฉานเยอะ สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก เป็นสัตว์ ก็เพราะเกิดด้วยโมหะ หลงไป ถ้าเกิดด้วยโทสะ ก็ไปเกิดในนรก เกิดด้วยโลภะ ก็ไปเป็นเปรต เกิดด้วยจิตใจอ่อนแอ ก็ไปเป็นอสุรกาย ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ตายไปด้วยจิตใจที่มีศีลธรรม ก็เป็นมนุษย์ มีศีล ๕ ข้อ ได้เป็นมนุษย์แล้ว ฉะนั้น ศีล ๕ ไม่ใช่ของใหม่ คือของเก่าที่พวกเราเคยทำมาแล้ว เราถึงมานั่งหน้าแป้นแล้นอยู่ตรงนี้ เป็นมนุษย์ ไม่อย่างนั้นต้องไปร้องเอ้กอีเอ้กเอ้กอยู่ สัตว์ไม่พูดมาก ร้องเป็นเวลา ร้องด้วยเหตุผล แต่คน พูดมาก ฟุ้ง ปรุงแต่งเยอะ .. นิสัยอย่างนี้ ภาวนาลำบาก มีเวลาว่าง ก็เอาไปเล่น เอาไปคุย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระนิพพาน :: หลวงพ่อปราโมทย์ 12 ม.ค. 2562 (ไฟล์ 620112A ซีดี 80)กายมันของหยาบ มันดูง่าย ดูไปๆ แล้วละง่าย จะเห็นเลยว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ วันใดที่เห็นว่ากายเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ก็หมดความยึดถือกาย ก็จะหมดความกลุ้มใจเพราะต้องกระทบอารมณ์ทางกาย กระทั่งกายเรายังไม่ยึดถือเลย เราจะไปยึดถืออารมณ์ที่กระทบทางกายทำไม ที่เรายึดถือร่างกายอยู่ เพราะว่าร่างกายนี้เป็นช่องทางให้เรากระทบอารมณ์ที่น่าเพลิดเพลิน https://www.youtube.com/watch?v=pdGovvHhmzk&t=33s อย่างเรามีตาอยู่ใช่ไหม เราก็ได้ดูรูปสวยๆ อย่างมีหูก็ได้ฟังเสียงไพเราะๆ เสียงดีๆ อย่างมีจมูกได้กลิ่นหอมอยู่ นี่เรารักร่างกายเพราะมันเอาของดีมาให้เรา เรารู้สึกว่ามันดี แต่ถ้าวันหนึ่งเราเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลย เราก็จะไม่หลงไปในรูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะที่มากระทบตาหูจมูกลิ้นกายนี่ จิตมันจะไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย มันพ้นจากความยินดียินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เรียกว่ามันพ้นจากกามและปฏิฆะ พระอนาคามีละกามและปฏิฆะได้เพราะไม่ยึดกาย หมดความยึดกายเพราะเห็นความจริงว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ อย่างไรก็ตาม นักปฏิบัติที่ชำนาญในการดูจิต สามารถมีสติตามรู้จิตจนเห็นความจริงว่า เมื่อใดจิตมีความอยาก เมื่อใดจิตมีความยึดถืออารมณ์ต่างๆ เมื่อนั้นจิตจะทุกข์ เมื่อใดจิตพ้นจากความอยากและความยึดถืออารมณ์ จิตจะไม่ทุกข์ พอเห็นแจ้งอย่างนี้ จิตก็ไม่ยึดถือในกายและกามคุณอารมณ์ จิตพ้นจากกามและปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีได้เช่นกัน ทีนี้พอฝึกจนถึงขั้นพระอนาคามี สมาธิจะบริบูรณ์ จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันเลย จะรู้สึกว่าตัวผู้รู้นี่แหละเป็นของดีของวิเศษเป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเราอยู่กับตัวผู้รู้นี่เราไม่ทุกข์ ถ้าเราเป็นตัวผู้หลงเมื่อไรถึงจะทุกข์ ฉะนั้นจิตนี้ดีนะ จิตตัวผู้รู้นี่ดี ใจมันจะยึดตัวดีนี้ไว้ ไม่ปล่อยวางจิตต่อเมื่อวันใดมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าตัวจิตนั้นแหละกลายเป็นตัวทุกข์ให้เราดู มันพลิกของมันเองนะ มันพลิกให้เราดูเอง อยู่ๆ จะไปนึกเอาว่าตัวจิตผู้รู้เป็นตัวทุกข์ มันนึกไม่ออกหรอก เพราะไม่เคยเห็น ต้องมีสติมีปัญญาแก่กล้าพอ มันจะพลิกตัวให้ดูว่ามันทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรทุกข์เท่านี้อีกแล้ว อย่างบางคนบอกว่าอกหักทุกข์มาก ตัวจิตผู้รู้นี่ถึงไม่อกหักมันก็ทุกข์ มันทุกข์ยิ่งกว่านั้นอีก มันทุกข์จนเรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารู้มันต่อไป เราจะตายแล้ว อกหักเฉยๆ เรารู้ว่าอกหักไม่ตายนะ อกหักแล้วกำลังกลุ้มใจอยู่ เสียอกเสียใจอยู่ ถ้าเรารู้ว่าเสียอกเสียใจอยู่หายเลย แต่ตัวผู้รู้เวลามันกลายเป็นตัวทุกข์ให้ดูนี่ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ยิ่งรู้มันยิ่งทุกข์ ทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์เหมือนจะตายเลย ทุกข์เหมือนไม่ตายก็บ้า นี่ใจมันต้องเห็นทุกข์นะถึงจะยอมวาง @ู้ที่ปล่อยวางจิตได้เรียกว่าพระอรหันต์ครูบาอาจารย์ถึงบอกว่านิพพานอยู่ฟากตายไม่ภาวนากันจนถึงขีดสุดจริงๆไม่ยอมปล่อยวางจิตหรอกเพราะเราหวง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
้เราไม่ทุกข์https://www.youtube.com/watch?v=QMX6_2cdDpg
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ผู้ดับรอบเฉพาะตนเราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ประทีปหมดเชื้อผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็ปัญญานี้คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้นจัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งคือนิพพานเพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดานั้นเท็จสิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดาได้แก่นิพพานนั้นจริง #เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่งฉะนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งคือความสละคืนอุปธิทั้งปวงอกุศลธรรมนั้นๆเป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้วถึงความเป็นอีกไม่ได้มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อุปสมะ (ความสงบ) อันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ เป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง กิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ความสำคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว มุนีผู้สงบแล้ว ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตายจักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระพุทธเจ้าสอน ให้เรา เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การบรรลุมรรคผลความกระสับกระส่าย ความทุรนทุราย ความร้อนอกร้อนใจ ความกลัว ความกังวล ความหงุดหงิดรำคาญ อันนี้เกิดขึ้นที่ใจ ปวดมากๆอยากเปลี่ยนอิริยาบถ ความอยากเปลี่ยนอิริยาบถเกิดขึ้นที่ใจ ไม่ได้เกิดที่ขา ใจเราเป็นคนอยากเปลี่ยนอิริยาบถ นั่งนานๆมันปวดใช่ไหม? ใจมันอยากเปลี่ยนอิริยาบถ มันปวดอยู่ที่ขา แต่ใจมันอยาก หัดดูให้ดีเราจะเห็นเลย ความอยากที่เกิดขึ้นที่ใจ ไม่ใช่จิตหรอก จิตมันเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ความอยากเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เช่นเดียวกับความปวดที่แปลกปลอมเข้ามาในขา แบบเดียวกันเปี๊ยบเลย มันแปลกปลอมเข้ามาเพราะฉะนั้น เราหัดดูนะ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่ใช่จิตหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไปตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆเราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเรา จิตตั้งมั่น นี่เกิดจากการที่จิตรู้ทัน จิตที่เป็นผู้หลง ผู้ไหลไป ... ต้องรู้ทันนะถึงจะใช้ได้ นี่รู้ทันว่าจิตเคลื่อน พอรู้ว่าจิตเคลื่อนจิตจะไม่เคลื่อนจิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู ... ถ้าไปรู้ร่างกาย เอาจิตไปรู้ลมหายใจเนี่ย กลายเป็นสมาธิอย่างแรก(สมถะกรรมฐาน) ..... ถ้าทำให้ได้สองชนิดดีที่สุด ถ้าทำไม่ได้นะ ต้องได้ลักขนูปณิชฌาน ถ้าได้แต่อารัมณูปนิชฌานชาตินี้ไม่บรรลุมรรคผลหรอก.
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
รำวงสาวบ้านแต้ต้นฉบับ สุนทราภรณ์จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
สถานที่ทรงแสดงมงคลสูตร 38 ประการ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในแคเอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมังฯ อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะ ทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง อาระตี วิระติ ปาปา มัชชะปานา จะ สังยะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐิ จะ กะตัญญุตา กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ความหมาย หมายเหตุ - คัดจากพระไตรปิฏก ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ เล่มที่ ๑๘ ขุททกปาฐะ [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เอวัมเมสุตัง เอกัง สะมะยังเอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิฯ พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมังฯ อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะ ทารัสสะ สังคะโห อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง อาระตี วิระติ ปาปา มัชชะปานา จะ สังยะโม อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐิ จะ กะตัญญุตา กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง นิพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ความหมาย หมายเหตุ - คัดจากพระไตรปิฏก ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ เล่มที่ ๑๘ ขุททกปาฐะ [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไปเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ