บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018
พระพุทธเจ้าสอน ให้เรา เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง "#ฉันจะเก็บของฉันไปจนหมด#ฉันเก็บลูกศิษย์ของฉันครบแน่" #ท่านยืนยันว่าลูกศิษย์ของท่านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นห้าพันสี่ร้อยคนเศษนี้ท่านพบหมดแล้ว (ในภพภูมิต่าง ๆ) ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. ๒๕๓๓ และส่วนใหญ่จะถึงนิพพานในชาตินี้ แต่ทุกคนจะถึงนิพพานหมดในชาติหน้า "ฉันขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมดและพระพรหม และเทพเจ้าทั้งหมด ขอทุกท่านจงกำหนดจิต จดจำลูกหลานของฉันไว้ ว่าบุคคลใดก็ตาม เมื่อเวลาจะตายขอให้สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีจิตน้อมไปในกุศลกรรม และขอให้ได้รับผลที่ฉันได้ทำไปแล้วทุกประการ แก่ลูกหลานของฉันทุกคน เวลานี้ฉันมองดูแล้วนะ ตรวจดูแล้ว สิ่งที่ฉันต้องการมันสมใจนึกแล้ว ฉันมีความอิ่มใจบอกไม่ถูก ปลื้มใจที่ความปรารถนาสมหวัง ที่ฉันตั้งใจไว้นาน ปรารถนาไว้นานคิดว่าจะทำไม่ได้ แต่เวลานี้ทำได้แล้ว ลูกหลานของฉันทุกคน มีศรัทธาเป็นอจลศรัทธาแล้ว มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความดีพอสมควรแล้ว " วิธีการเก็บศิษย์ของท่านเท่าที่ทราบมีอยู่ ๗ วิธีคือ ๑. การออกหมายเกณฑ์ คือการ
ทางมรรคผลนิพพาน#ถ้าเราทำลายความเห็นผิดนะว่าจิตนี้เป็นของดีของวิเศษขันธ์๕เป็นของดีของวิเศษ #ทำลายตัวนี้ได้เชื้อเกิดจะถูกทำลายไป เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของดีแล้ว ความอยากให้ขันธ์ ๕ มันสุข ให้มันดี ให้มันสงบ ไม่มีแล้ว รู้ว่ามันไม่ดี ความอยากจะพ้นจากทุกข์ ให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ ก็ไม่มี เห็นไหม #อยากให้พ้นทุกข์ก็ไม่มีนะอยากให้สุขก็ไม่มีนะเพราะรู้แจ้งแล้วว่าทุกข์แน่นอนพอรู้แจ้งอย่างนี้หมดแรงดิ้น จิตที่หมดแรงดิ้นนี่แหละจะเห็นพระนิพพาน จิตที่ยังดิ้นอยู่ ยังอยากอยู่ นี่มีตัณหาอยู่ ไม่เห็นพระนิพพาน พวกเรามีบุญแล้วนะ ได้ฟังธรรม ฝึกรู้สึกตัวไปบ่อยๆ รู้สึกตัวแล้วอย่ารู้อยู่เฉยๆ ดูรูปดูนาม ดูกายดูใจ ดูขันธ์ ๕ ทำงานเรื่อยไป #วันหนึ่งเราก็จะตามพระพุทธเจ้าของเราไปนะ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางพ้นทุกข์จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไปแต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างสิ้นเชิงเวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า #นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง #พวกเรายังไม่เคยเห็นเราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้างข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่งพวกนี้พวกสัสตะทิฐิมีของที่เที่ยงคงที่ #อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลยขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลยกระทั่งสติพวกนี้หลงไปล่ะคิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลยนี่พวกอุจเฉททิฐินะนิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ #สภาวะของนิพพานคือสันติ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
videoplayback
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ถ้าบุญบารมีพอนะ เราเจริญปัญญามามากพอแล้วเนี่ย จิตจะไปเดินปัญญาในขั้นสุดท้ายในฌาน ขั้นสุดท้ายจะไปเดินปัญญาในฌานนะ สองสามขณะเท่านั้นเองไหลวั๊บดับ วั๊บดับ เราไม่รู้ว่าอะไรเกิด ไม่รู้ว่าอะไรดับ รู้แค่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น สิ่งบางสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เราจะไม่รู้หรอกว่า นี่คือความโลภเกิด นี่ความหลงเกิด นี่ความโกรธเกิด นี่ความสุขเกิด นี่ความทุกข์เกิด มันจะไม่แปลออกมาอย่างนั้นเลย มันจะรู้สึกแค่ว่า มีอะไรบางอย่างไหวๆ ขึ้นในจิตแล้วก็ดับ ไหวๆขึ้นในจิตแล้วก็ดับ จะเห็นสองสามขณะ ถ้าปัญญาของเราแก่กล้า เราจะเห็นสองครั้งเท่านั้น ถ้าปัญญายังไม่แก่กล้าจะเห็นสามครั้ง ถึงจะเกิดความเข้าใจ ถ้าปัญญาเราแก่กล้าแล้วเนี่ย เห็นสองครั้ง เกิดความเข้าใจแล้ว พอเกิดความเข้าใจแล้วจิตจะวางสังขาร อันนี้เป็นสังขารละเอียด เป็นความปรุงของจิตในขั้นละเอียด แค่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับเป็นธรรมดานะ เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันคือ something เท่านั้น สิ่งบางสิ่ง ไม่รู้ว่าคือสุข หรือทุกข์ ดี หรือชั่ว ไม่รู้ว่าอะไร เห็นแค่สภาวะที่เกิดแล้วก็ดับ ๆ ตรงนี้แหละ เวลาบรรจุพระโสดาบัน ท่านถึงบอกว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมั
videoplaybackถ้าบุญบารมีพอนะ เราเจริญปัญญามามากพอแล้วเนี่ย จิตจะไปเดินปัญญาในขั้นสุดท้ายในฌาน ขั้นสุดท้ายจะไปเดินปัญญาในฌานนะ สองสามขณะเท่านั้นเองไหลวั๊บดับ วั๊บดับ เราไม่รู้ว่าอะไรเกิด ไม่รู้ว่าอะไรดับ รู้แค่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น สิ่งบางสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เราจะไม่รู้หรอกว่า นี่คือความโลภเกิด นี่ความหลงเกิด นี่ความโกรธเกิด นี่ความสุขเกิด นี่ความทุกข์เกิด มันจะไม่แปลออกมาอย่างนั้นเลย มันจะรู้สึกแค่ว่า มีอะไรบางอย่างไหวๆ ขึ้นในจิตแล้วก็ดับ ไหวๆขึ้นในจิตแล้วก็ดับ จะเห็นสองสามขณะ ถ้าปัญญาของเราแก่กล้า เราจะเห็นสองครั้งเท่านั้น ถ้าปัญญายังไม่แก่กล้าจะเห็นสามครั้ง ถึงจะเกิดความเข้าใจ ถ้าปัญญาเราแก่กล้าแล้วเนี่ย เห็นสองครั้ง เกิดความเข้าใจแล้ว พอเกิดความเข้าใจแล้วจิตจะวางสังขาร อันนี้เป็นสังขารละเอียด เป็นความปรุงของจิตในขั้นละเอียด แค่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับเป็นธรรมดานะ เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันคือ something เท่านั้น สิ่งบางสิ่ง ไม่รู้ว่าคือสุข หรือทุกข์ ดี หรือชั่ว ไม่รู้ว่าอะไร เห็นแค่สภาวะที่เกิดแล้วก็ดับ ๆ ตรงนี้แหละ เวลาบรรจุพระโสดาบัน ท่านถึงบอกว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา" ทำไมใช้คำว่า "สิงใดสิ่งหนึ่ง" ใช้คำว่า something เพราะอะไร ? เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันคืออะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับ เนี่ย เห็นสองครั้งนะ สำหรับพวกที่ปัญญาแก่กล้า เรียกว่าปัญญิณทรีย์ (คือ)มีอินทรีย์คือปัญญาแก่กล้า จะเห็นสองครั้ง จิตก็เข้าใจความจริงแล้ว ว่าสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับ ถ้าปัญญิณทรีย์ไม่แก่กล้า (คือ)ปัญญาไม่กล้าแข็ง ต้องเห็นสามทีนะ ถึงจะเข้าใจ เข้าใจแล้วก็จะวางสังขาร พอวางสังขารนั้น ก็คือการทิ้งโลก ทิ้งจากโลกแล้ว ทิ้งจากโลกียะ จิตมันจะทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ ตรงที่มันทิ้งโลก แล้วมันทวนเข้าหาธาตุรู้เนี่ย มันยังไม่ใช่มันพ้นจากความเป็นปุถุชน แต่มันยังไม่เป็นพระอริยะ เป็นรอยต่อ เป็นรอยต่อเนี่ย เกิดชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง แว็บเดียวเอง จิตก็กลับเข้ามาถึงตัวธาตุรู้แล้ว เมื่อจิตเข้าถึงธาตุรู้แล้วเนี่ย อริยมรรคจะเกิดขึ้นเอง ต้องจำไว้อย่างนึงนะ ไม่มีใครทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้นะ อริยมรรค อริยผล เกิดขึ้นเองเมื่อจิตเรามี ศีล สมาธิ ปัญญา แก่รอบแล้ว สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ ปัญญาแก่รอบ ก็คือ รู้ความจริงว่าสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับ นั่นแหละ เรียกว่าปัญญาเราแก่รอบแล้ว งั้นปัญญาจะแก่รอบได้ เราต้องพาจิตให้เรียนรู้ความจริงบ่อยๆนะ คอยดูไป สิ่งที่เกิดขึ้นมาเนี่ย#สุขเกิดแล้วดับทุกข์เกิดแล้วดับ #เรียนไปมากๆจนปัญญามันแก่รอบมันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ #มันก็วางสังขารทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะเกิดเอง พระพุทธเจ้าบอกเลย ไม่มีใครทำมรรคผลให้เกิดได้ มรรคผลเกิดเอง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
videoplaybackถ้าบุญบารมีพอนะ เราเจริญปัญญามามากพอแล้วเนี่ย จิตจะไปเดินปัญญาในขั้นสุดท้ายในฌาน ขั้นสุดท้ายจะไปเดินปัญญาในฌานนะ สองสามขณะเท่านั้นเองไหลวั๊บดับ วั๊บดับ เราไม่รู้ว่าอะไรเกิด ไม่รู้ว่าอะไรดับ รู้แค่ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น สิ่งบางสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เราจะไม่รู้หรอกว่า นี่คือความโลภเกิด นี่ความหลงเกิด นี่ความโกรธเกิด นี่ความสุขเกิด นี่ความทุกข์เกิด มันจะไม่แปลออกมาอย่างนั้นเลย มันจะรู้สึกแค่ว่า มีอะไรบางอย่างไหวๆ ขึ้นในจิตแล้วก็ดับ ไหวๆขึ้นในจิตแล้วก็ดับ จะเห็นสองสามขณะ ถ้าปัญญาของเราแก่กล้า เราจะเห็นสองครั้งเท่านั้น ถ้าปัญญายังไม่แก่กล้าจะเห็นสามครั้ง ถึงจะเกิดความเข้าใจ ถ้าปัญญาเราแก่กล้าแล้วเนี่ย เห็นสองครั้ง เกิดความเข้าใจแล้ว พอเกิดความเข้าใจแล้วจิตจะวางสังขาร อันนี้เป็นสังขารละเอียด เป็นความปรุงของจิตในขั้นละเอียด แค่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับเป็นธรรมดานะ เราไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันคือ something เท่านั้น สิ่งบางสิ่ง ไม่รู้ว่าคือสุข หรือทุกข์ ดี หรือชั่ว ไม่รู้ว่าอะไร เห็นแค่สภาวะที่เกิดแล้วก็ดับ ๆ ตรงนี้แหละ เวลาบรรจุพระโสดาบัน ท่านถึงบอกว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา" ทำไมใช้คำว่า "สิงใดสิ่งหนึ่ง" ใช้คำว่า something เพราะอะไร ? เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันคืออะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นก็ดับ เนี่ย เห็นสองครั้งนะ สำหรับพวกที่ปัญญาแก่กล้า เรียกว่าปัญญิณทรีย์ (คือ)มีอินทรีย์คือปัญญาแก่กล้า จะเห็นสองครั้ง จิตก็เข้าใจความจริงแล้ว ว่าสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับ ถ้าปัญญิณทรีย์ไม่แก่กล้า (คือ)ปัญญาไม่กล้าแข็ง ต้องเห็นสามทีนะ ถึงจะเข้าใจ เข้าใจแล้วก็จะวางสังขาร พอวางสังขารนั้น ก็คือการทิ้งโลก ทิ้งจากโลกแล้ว ทิ้งจากโลกียะ จิตมันจะทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ ตรงที่มันทิ้งโลก แล้วมันทวนเข้าหาธาตุรู้เนี่ย มันยังไม่ใช่มันพ้นจากความเป็นปุถุชน แต่มันยังไม่เป็นพระอริยะ เป็นรอยต่อ เป็นรอยต่อเนี่ย เกิดชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นเอง แว็บเดียวเอง จิตก็กลับเข้ามาถึงตัวธาตุรู้แล้ว เมื่อจิตเข้าถึงธาตุรู้แล้วเนี่ย อริยมรรคจะเกิดขึ้นเอง ต้องจำไว้อย่างนึงนะ ไม่มีใครทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้นะ อริยมรรค อริยผล เกิดขึ้นเองเมื่อจิตเรามี ศีล สมาธิ ปัญญา แก่รอบแล้ว สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ ปัญญาแก่รอบ ก็คือ รู้ความจริงว่าสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับ นั่นแหละ เรียกว่าปัญญาเราแก่รอบแล้ว งั้นปัญญาจะแก่รอบได้ เราต้องพาจิตให้เรียนรู้ความจริงบ่อยๆนะ คอยดูไป สิ่งที่เกิดขึ้นมาเนี่ย#สุขเกิดแล้วดับทุกข์เกิดแล้วดับ #เรียนไปมากๆจนปัญญามันแก่รอบมันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ #มันก็วางสังขารทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะเกิดเอง พระพุทธเจ้าบอกเลย ไม่มีใครทำมรรคผลให้เกิดได้ มรรคผลเกิดเอง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาโดยตรัสเป็นพระคาถารวมพระคาถาครึ่งดังต่อไปนี้ สัพพะปาปัสสสะอะกะระณังการไม่ทำบาปทั้งปวงกุสะลัสสูปะสัมปะทาการทำกุศให้ถึงพร้อมสะจิตตะปะริโยทะปะนังการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส เอตังพุทธานะสาสะนังธรรม๓อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันตี คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง, นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง, นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย, นะ สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย. อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย, ปาติโมกเข จะ สังวะโร, การสำรวมในปาติโมกข์, มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค, ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด, อะธิจิตเต จะ อาโยโค, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง, เอตัง พุทธานะสาสะนัง. ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
videoplayback
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลยเดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลยสอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไปทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี #การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะสอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย#มีแล้วก็ไม่มีมีแล้วก็ไม่มี #ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน #เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงผู้ยอมรับความจริงว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เราฝึกให้มีสตินะแล้วทุกอย่างม
พระพุทธเจ้าสอน ให้เรา เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระพุทธเจ้าองเดียวกัน#ความงามของพระพุทธวจนะความลาดลุ่มลึกแห่งพุทธธรรม คือความเป็น “คัมภีระ” ... ประการที่ ๑ #มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับหาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ... สงฆ์ห่างไกลจากเขา #ข้อนี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๓ ในพระธรรมวินัยนี้ .... “ไม่โกรกชันเหมือนภูเขาขาด” คำว่า “โกรกชัน” คือทางที่เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ศาสนาพุทธสอนให้เราเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราคือกายกับใจ ท่านสอนว่า ถ้าเรารักสิ่งใด ..เราจะทุกข์..เพราะสิ่งนั้น..ถ้าเรามีสติคอยรู้ทันจิตใจของเราอยู่เรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก เช่น .... วันใดที่จิตมันเดินปัญญาแก่รอบถึงขนาดนี้แล้ว จิตมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเองนะ ให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ รู้กายรู้ใจนั่นแหละตามความเป็นจริง ดูลงไปเรื่อยเลย กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ต้องคิดหรอก มันไม่ใช่ของดีของวิเศษมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เราเพียงหลงผิดว่ามันดีมันวิเศษ เราเลยติดอกติดใจเพลิดเพลินอยู่ ถ้าเราดูซ้ำดูซากนะ ดูแล้วดูอีก อยู่ในกายในใจนี้ เราจะเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ พวกเรายังไม่เห็น พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เพราะเราเห็นอย่างนี้นะ อวิชชาเรามีอยู่ เมื่อมันยังเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์
[Official MV] ห้านาทีบรรลุธรรม : บิทเติ้ล | Beatleตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีก
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระพุทธเจ้าสอน ให้เรา เรียนจนรู้ความจริงว่าความทุกข์มันเกิดได้อย่างไร ทำ...ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้ สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เองเพราะมันไม่แส่ส่ายไปที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดตรงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นสมาธิเนี่ยเต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิต ตรงนี้แหละ จิตจะไหวตัวขึ้นมา สองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะ แต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นจิตจะรู้เลย มันไม่มีสาระนะ จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตเกิดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น 2 – 3 ขณะ นะ ความเป็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ แต่เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตดวงเก่าดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆดับไป จะทวนกระแสเข้าหาจิตที่อยู่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้ คาบลูกคาบดอก ยังเกาะอยู่ในขันธ์ แล้วก็ไม่ได้เกาะขันธ์แล้ว คือ ไม่ได้เกาะอยู่ที่จิต แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตธาตุอมตธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน นี้ต้องแยกให้ออก มันยังทวนเข้ามาไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิตนะ ไม่ใช่พระอริยะเพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน #ตัวธาตุรู้นั้นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้เรียกว่า #โคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตร ข้ามจากโคตรไหนไปสู่โคตรไหน จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะฉะนั้นบรรลุมรรคผลแล้วนะ เปลี่ยนโคตรนะ อันนี้ข้ามจากสกุลของปุถุชนนะ ข้ามมาสู่อริยวงศ์ อริยโคตร เรียกว่า ญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละ ที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้นะ ข้ามเข้ามา #ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ถึงธาตุวิญญาณธาตุธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุตัวนี้แหละอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อนุปาทา ปรินิพพาน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
สัมพะหุลาอะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ. เริ่ม) #พรรษาอ่อนกว่ากราบพรรษาแก่กว่า3ครั้ง (พรรษาอ่อนว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโญ อาปัตติโย #อาปัชชิงตาตุมหะมูเลปะฏิเทเสมิ (พรรษาแก่รับว่า) #ปัสสะสิอาวุโสตาอาปัตติโย (พรรษาอ่อนว่า) อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ (พรรษาแก่รับว่า) อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ (พรรษาอ่อนว่า) สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ นะ ปุเนวัง กะริสสามิ นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (จบพรรษาอ่อน) (พรรษาแก่ว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ (พรรษาอ่อนรับว่า) อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย (พรรษาแก่ว่า) อามะ อาวุโส ปัสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า) อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ (พรรษาแก่ว่า) สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ นะ ปุเนวัง กะริสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) (เสร็จ) พรรษาอ่อนกว่า กราบ พรรษาแก่กว่า 3 ครั้ง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
สัมพะหุลาอะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย ปาจิตติยาโย อาปัตติโย อาปันโน ตา ปะฏิเทเสมิ. เริ่ม) #พรรษาอ่อนกว่ากราบพรรษาแก่กว่า3ครั้ง (พรรษาอ่อนว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโญ อาปัตติโย #อาปัชชิงตาตุมหะมูเลปะฏิเทเสมิ (พรรษาแก่รับว่า) #ปัสสะสิอาวุโสตาอาปัตติโย (พรรษาอ่อนว่า) อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ (พรรษาแก่รับว่า) อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ (พรรษาอ่อนว่า) สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ นะ ปุเนวัง กะริสสามิ นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (จบพรรษาอ่อน) (พรรษาแก่ว่า) สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ หน) อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ (พรรษาอ่อนรับว่า) อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย (พรรษาแก่ว่า) อามะ อาวุโส ปัสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า) อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ (พรรษาแก่ว่า) สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ นะ ปุเนวัง กะริสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ (พรรษาอ่อนรับว่า สาธุ) (เสร็จ) พรรษาอ่อนกว่า กราบ พรรษาแก่กว่า 3 ครั้ง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พระอรหันต์ ๑. อารมณ์พระอรหันต์ นั่นคือจิตคิดว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน จิตไม่มีมานะการถือตัวถือตน จิตไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านออกนอกรีดนอกรอย จิตไม่ติดในอวิชชา คือ ฉันทะกับราคะ ฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกไม่มีราคะ จิตเห็นมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกสวยไม่มี ไม่พอใจในสามโลก จิตพอใจจุดเดียวคือนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พระอรหันต์ คือยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ไล่ลงมาอีกทีนะจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า ธรรมดาคนเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องมีการพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ คนเกิดมาแล้วต้องตาย ความปรารถนาไม่สมหวังย่อมมีแก่ทุกคน ถ้าทุกอย่างมันเกิดขึ้น ใจท่านไม่หวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแล้วก็จิตคิดว่าถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร ฉันไปนิพพานเมื่อนั้นใจสบาย ๒. ศีลเราบริสุทธิ์อยู่แล้ว สมาธิทรงตัวอยู่แล้ว วิปัสสนาญาณปลดเปลื้องร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น วัตถุธาตุ ขันธ์ ๕ คือร่างกาย อย่าไปเสียดายมัน มันจะพังเมื่อใดก็เชิญมันพัง เพราะใจเราพร้อมที่จะไปนิพพาน ตัวจิตบริสุทธิ์อยู่ที่นี่ ๓. อรหัตผลนี่เป็นของไม่ยาก ก็ตัดกามฉันทะกับราคะ คือไม่สนใจกับร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจกั
videoplayback#เมื่อเห็นกายเห็นใจ #ตรงตามความเป็นจริงว่า #มันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด จะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางหลุดพ้นด้วยกรรมอันเป็นกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นเหตุให้พ่อแม่ครูอาจารย์ญาติมิตรและเพื่อนตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ในสังสารวัฏทุกชีวิตจงถึงความสิ้นทุกข์ จงถึงความสุขตลอดไป ขอบพระคุณมากครับ ที่สละเวลาเข้ามาชม วีดีโอ นี้ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางแห่งความหลุดพ้น
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ชุดควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ปี 2559 ปี 2016 ใช้แทน TM52Aเวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลยเดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลยสอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไปทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใ
ทางแห่งความหลุดพ้น
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ชุดควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า สามเฟส ปี 2559 ปี 2016 ใช้แทน TM52Aเวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลยเดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลยสอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไปทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใ
videoplayback#ข้ามแพลตฟอร์ม หรือ #หลายแพลตฟอร์ม (อังกฤษ: #Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC แพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มหมายถึงการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานของแอปพลิเคชัน เราอาจพิจารณาว่า ระบบปฏิบัติการ, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ ทั้งคู่ เป็นแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ได้ ฮาร์ดแวร์ แพลตฟอร์มทางฮาร์ดแวร์มักหมายถึง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผล ตัวอย่างเช่น ซีพียู ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 หรือ x86-64 เป็นต้น ซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มทางซอฟต์แวร์ อาจหมายถึงระบบปฏิบัติการ หรือสภาพแวดล้อมทางโปรแกรมมิ่ง ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนคือ จาวาแพลตฟอร์ม ตัวอย่างแพลตฟอร์มทางซอฟต์แวร์มีดังนี้ ไมโครซอฟท์วินโดวส์ Mac OS X x86 Mac OS X PowerPC Linux x86 จาวาแพลตฟอร์ม Crystal Clear app kpackage.png บทความเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล หมวดหมู่: แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์บทความเกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
คอมเพรสเซอร์ตู้เย็น#วิธีทดสอบมอเตร์คอมเพรสเซอร์#ทำตัวทดสอบคอมเพรสเซอร์#powermodule3phase
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
“ทุกข์” ในศาสนาพุทธ › ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์เสขปฏิปทาสูตร ว่าด้วยผู้มีเสขปฏิปทา ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย. ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส สัณฐาคารใหม่อัน พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้ เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาค ทรงบริโภคเป็นปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมี เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาค ทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ทราบการรับของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้นจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาด สัณฐาคาร ให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชำระพระบาทยุคลแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่ง พิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา. แม้ภิกษุสงฆ์ชำระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัจจิม ผินหน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาค. แม้พวกเจ้าศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ชำระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา ผินพักตร์เฉพาะทิศปัจจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูกรอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคลจงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เถิด เราเมื่อยหลัง เราจักเหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค- *โปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สำเร็จสีหไสยาสน์ ด้วยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาท เหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการสัญญาในอันเสด็จลุกขึ้น. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดูกรมหานาม อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อริยสาวก ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร ไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อบำบัดความอยากอาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่ เป็นผาสุกจักมีแก่เรา ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในปฐมยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง เวลากลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น เวลากลางคืน ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ คืออริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม. ๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อม แห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก. ๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมเหล่าใดงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยความเห็น. ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้วนาน. ๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับ อันเป็น อริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ. ดูกรมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรม อาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริย ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ ดูกรมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัย ซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก. ดูกรมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาเป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่าเป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม เปรียบเหมือนฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไข่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายในเปลือกไข่นั้นก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด ดูกรมหานาม อริยสาวกก็ฉันนั้นเพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากอย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะ ตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้เป็นความ แตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็น หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษ์อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ ฉะนี้ ข้อนี้ เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สองของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะ เปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มี สิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่ง ฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น. ความเป็นผู้มีวิชชาและจรณะ ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอ ประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่ อริยสาวกระลึกชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวก เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ซึ่งปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง. คาถาสนังกุมารพรหม ดูกรมหานาม อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ แม้ สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด. ดูกรมหานาม คาถานั้น สนังกุมารพรหมขับดีแล้ว มิใช่ขับชั่ว กล่าวดีแล้ว มิใช่กล่าวชั่ว ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรงอนุมัติ แล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า สาธุๆ อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ดีแล. ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี พวกเจ้าศากยะ เมือง กบิลพัสดุ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล. จบ เสขปฏิปทาสูตร ที่ ๓
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย แต่ว่าภิกษุอื่นแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรม ทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุต- *ตายตนะข้อที่สอง ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ว่ากระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กาย สงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิ
ทางมรรคผลผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต, โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ขั้นสมาธิ การมีสติอยู่ในกิจหรืองานหรือธรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงแจงถึงโทษด้วยเช่นกันดังในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันเป็นสุขอย่างละเอียดประณีตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติซึ่งถ้าติดเพลินแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องละเช่นกัน อันจัดอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ, การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด มิใช่ทิ้งฌานหรือสมาธิ) ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล, เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่ หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ สุขิโน วต อรหนฺโต, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ, อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด, ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน. อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ, โลเก อนุปลิตฺตา เต, พฺรหฺมภูตา อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง. ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา สปฺปุริสา, ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา, มหานาคา สมาหิตา, เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง. อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโย, โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา, เต โลเก วิชิตาวิโน. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ, นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ นทนฺติ เต สีหนาทํ, พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
จิตปล่อยวางจิต ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพานผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต, โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ขั้นสมาธิ การมีสติอยู่ในกิจหรืองานหรือธรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงแจงถึงโทษด้วยเช่นกันดังในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันเป็นสุขอย่างละเอียดประณีตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติซึ่งถ้าติดเพลินแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องละเช่นกัน อันจัดอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ, การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด มิใช่ทิ้งฌานหรือสมาธิ) ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล, เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่ หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ สุขิโน วต อรหนฺโต, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ, อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด, ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน. อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ, โลเก อนุปลิตฺตา เต, พฺรหฺมภูตา อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง. ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา สปฺปุริสา, ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา, มหานาคา สมาหิตา, เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง. อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโย, โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา, เต โลเก วิชิตาวิโน. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ, นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ นทนฺติ เต สีหนาทํ, พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
จิตปล่อยวางจิต ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพานผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต, โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ขั้นสมาธิ การมีสติอยู่ในกิจหรืองานหรือธรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงแจงถึงโทษด้วยเช่นกันดังในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันเป็นสุขอย่างละเอียดประณีตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติซึ่งถ้าติดเพลินแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องละเช่นกัน อันจัดอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ, การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด มิใช่ทิ้งฌานหรือสมาธิ) ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล, เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่ หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ สุขิโน วต อรหนฺโต, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ, อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด, ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน. อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ, โลเก อนุปลิตฺตา เต, พฺรหฺมภูตา อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง. ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา สปฺปุริสา, ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา, มหานาคา สมาหิตา, เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง. อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโย, โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา, เต โลเก วิชิตาวิโน. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ, นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ นทนฺติ เต สีหนาทํ, พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางสายเอก
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสายเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุกข์ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ๊ำแล้วซ๊ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหลายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วคราวนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง.. เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว #เรามีศีลแล้วนะใจเราจะอยู่กับเนื้อกับตัวง่าย
การนิพพาน คืออะไร แล้วทำอย่างไรถึงจะได้มาซึ่ง นิพพานนิพพาน - วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/นิพพาน นิพพาน (บาลี: निब्बान nibbāna นิพฺพาน; สันสกฤต: निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ ... หลักฐานในคัมภีร์ · ในพระไตรปิฎก · ในอรรถกถา นิพพานคืออะไร - Pantip https://pantip.com/topic/30892923 แต่ทีนี้ไอ้นิพพานมันคือการดับทุกข์ถาวรไปตอนไหนไม่ทราบได้ ธรรมชาติของคนมันทุกข์เป็นระยะๆ ตราบยังไม่ตาย มันก็ทุกข์ทั้งชีวิตนั่นล่ะ ทุกข์แต่ละครั้ืงก็เปลี่ยนหัวข้อไป ... นิพพาน คืออะไรหรอครับ ? - Pantip https://pantip.com/topic/30085504 นิพพาน คืออะไรหรอครับ วันนึง ผมพูดคุย กับเพื่อนอยู่ในห้องเรียน เราจุดประเด็นขึ้นมาว่า นิพพานคืออะไรผมตอบไปว่า นิพพาน คือความว่างเปล่า คือการไม่มีอะไรเลย ไม่ได้อ. การนิพพาน คืออะไร แล้วทำอย่างไรถึงจะได้มาซึ่ง นิพพาน - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=Hyk1S-xSW9w วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 11:47 28 มิ.ย. 2561 - อัปโหลดโดย คติธรรมสอนใจ กฏของการไปนิพพาน คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น ... นิพพาน - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=dU8tV72Om5U วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 4:30 31 พ.ค. 2559 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสายเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุกข์ ถ้าเราสามา... นี่แหล่ะ สภาวะพระนิพพานที่แท้จริง - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=Rsa0PxMpHKw วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 9:05 28 ม.ค. 2559 - อัปโหลดโดย THE เหลือเชื่อ นี่แหล่ะ สภาวะพระนิพพานที่แท้จริง. THE เหลือเชื่อ. Loading... Unsubscribe from THE เหลือเชื่อ? Cancel Unsubscribe. Working. นิพพานคืออะไร ธรรมพ้นจากโลก - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=pdGovvHhmzk วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 13:49 13 ก.ค. 2560 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol นิพพานสูตรสฬายตนวรรคสังยุตตนิกาย ท่านก็พูดถึงว่า ราคากฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย นี่เรียกว่า นิพพาน ชัมพุขาทกะ ถามว่า นิพพานคืออะไร พระสารีบุตรก็ตอบว่า ... นิพพาน คืออะไร ? - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=qMkEiMXLooc วิดีโอสำหรับ นิพพาน▶ 5:45 27 พ.ค. 2557 - อัปโหลดโดย The Buddha Code สิ่งสิ่งหนึ่ง มีชื่อเรียกหลายชื่อ อสังขตะ นิพพาน วิมุตติ อมตะ(ธรรมอันไม่ตาย หรือความจริงอันไม่ตาย) ที่ที่ไม่เสื่อม, ธรรมอันเป็นเกาะ -------------------------... นิพพาน - ปฏิจจสมุปบาท www.nkgen.com/22.htm “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ. ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......" ภิกขุสูตร ที่ ๒ ... นิพพานสำหรับทุกคน - พุทธทาส www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.html นี่ขอให้เข้าใจเถิดว่า นิพพานมีสำหรับทุกคนตามมากตามน้อย; เหมือนกับว่า สระใหญ่สระหนึ่ง สัตว์ชนิดไหนก็ลงไปอาบไปกินได้ เขียดตัวเล็กๆ ก็ลงไปอาบไปกินอยู่ได้ ช้างตัวโตๆ ... การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ นิพพาน สภาวะนิพพาน ลักษณะของนิพพาน นิพพาน pantip นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพาน แปลว่า เย็น ประเภทของนิพพาน นิพพาน คือ อัตตา นิพพาน ภาษาอังกฤษ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กายคตาสติกรรมฐานการพิจารณาร่างกาย#ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตานี้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า #วิมริยาทิกตจิต คือ #จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง .. วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เทศน์ เรื่อง บุคคลที่จะเข้าถึงนิพพานทางนิพพาน-พุทโธอัปมาโณ www.tangnipparn.com/ ... ภันเตฯ หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ... ทางไปพระนิพพาน จิตติดท่องเที่ยวก็จักเบาบาง หรือแม้จักยังมีก็มีอย่างผู้ไม่ ... https://www.youtube.com/watch?v=sTHw1SKPT-o วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 8:04 7 มิ.ย. 2559 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol จิตติดท่องเที่ยวก็จักเบาบางหรือแม้จักยังมีก็มีอย่าง#ผู้ไม่ประมาทในความตาย . #ทางไปพระนิพพาน #พระธรรมเทศนาโดยพระราชพรหมยานเถระ. ทางพระนิพพาน - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=OqV5I_8TDSs วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 8:04 4 ส.ค. 2558 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol อุปสมานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานใช้เฉพาะท่านที่มีจริตเป็นพุทธจริต หรืออีกนัยหนึ่งจะพูดว่าเวลาใดที่จิตใจของเราเกิดความฉลาด เราใช้เวลาที่เกิดความฉลาดขึ้น ... ทางพระนิพพาน - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=uvvEIkSv8Rs วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 28:48 13 ส.ค. 2561 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol กราบขอบพระคุณและอนโมทนาหลวงพ่อและท่านอาจารย์มากครับที่กรุณาให้โอกาส ... แผนที่ไปพระนิพพาน จิตจําสภาวะธรรมได้ - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=HmjLxeDToho วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 2:51:44 9 ต.ค. 2558 - อัปโหลดโดย Sompong Tungmepol เวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเ... 26 ทางสู่พระนิพพาน หลวงตามหาบัว - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=sVMmbPiSsGk วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 1:19:35 9 ก.พ. 2556 - อัปโหลดโดย DrSeripiput Srimuang Playlist https://www.youtube.com/watch?v=sVMmbPiSsGk&list=PLuks6qegFh7iGJWD4LSK2Qd3ZwAJhec17 ... ทางพระนิพพาน - YouTube https://www.youtube.com/watch?v=Kz0nI52S2XU วิดีโอสำหรับ ทางพระนิพพาน▶ 8:04 4 ส.ค. 2558 - อัปโหลดโดย หมดเกิดหมดแก่หมดเจ็บหมดตาย ข้อสรุปนิพพานไม่สูญ หลวงปู่มั่นพบพระพุทธเจ้า l หลวงพ่อพุธตอบคำถามพระสังฆราชเกี่ยวกับนิพพาน - Duration: 22:20. Plodlock - ปลดล็อค 217,351 views. การปฏิบัติจิตใจตนให้เข้าสู่บันไดพระนิพพาน - Luangpochom::หลวงพ่อชม www.luangpochom.com/pochom75_2.htm ขั้นที่ ๕ คือให้ทำจิตให้ว่าง วางเฉยเสีย. ห้าขั้นนี้เป็นบันไดเข้าสู่พระนิพพาน ให้จิตใจเราผู้ปฏิบัติขึ้นตามสายทางบันไดดังที่กล่าวมานี้ ถึงจะเป็นบันไดทางพระนิพพานโดยถูกต้อง ... ทางไปพระนิพพาน - วัด พิ ช โสภา ราม www.watpitch.com/7-27-way-to-nirvana.html ทางไปพระนิพพาน หนทางสายที่ ๗ นี้ จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติบังเกิดขึ้นในโลก แล้ว ทรงประกาศสัจจธรรมชี้แนะแนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อ วิวัฏฏะ ... ทางสู่นิพพานมีกี่สายคะ - Pantip https://pantip.com/topic/31350366 7 ธ.ค. 2556 - ไปงานวิทยาศาสตร์ทางจิตมา มีวิทยากรท่านหนึ่งบอก ... พระตถาคตตรัสว่าทางที่เข้าถึงนิพพานคือ อริยมรรคมีองค์ 8 กล่าวย่อคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ... การนำทางหน้าเว็บ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
videoplayback#คนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะภาวนาไปสู่ความพ้นทุกข์ถ้าต้องการธรรมะที่จะพ้นไปจากโลก #พระองค์ถึงจะสอนธรรมะที่ประณีตสูงขึ้นไป #เป็นธรรมะที่ไม่มีตัวตนสำหรับคนที่อยากพ้นทุกข์จริงๆถ้าเรามีปัญญาเราจะเห็นว่าความสุขในโลกเป็นของชั่วคราว กระทั่งสวรรค์และพรหมโลกก็เป็นของชั่วคราวเพราะสังขาร(สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) ทุกอย่างไม่เที่ยงเลย ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนที่ถาวร เป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้จริง จึงหาทางออกจากโลก โลกก็คือรูปนาม(กายใจ) นั่นแหละให้เรามาเรียนรู้รูปนามให้แจ่มแจ้งด้วยการเจริญวิปัสสนา โดยมีสติรู้รูปรู้นามที่กำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ดูห่างๆเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ใจจะค่อยเป็นกลางขึ้นเรื่อยๆ รู้ว่ารูปนานไม่ใช่ของดีของวิเศษอีกต่อไปแล้ว รูปนามนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้แล้วจบที่รู้ รู้แล้วเป็นกลางจริงๆ เพราะใจมันเห็นความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่งคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว แล้วเราจะไม่ไปหลงเอาของชั่วคราวมาเป็นที่พึ่งอาศัย พอเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันหมด มีแต่เกิดแล้วดับเท่าเทียมกันหมด ความสุขเกิดขึ้นอีกก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้มันอยู่นานๆ ความสุขที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนไปแสวงหามัน ความทุกข์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ดิ้นรนต่อต้านไม่ให้เกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วก็ไม่ดิ้นรนหาทางทำลายมัน จิตหมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่ง เพราะเห็นความจริงของตัวขันธ์(กายใจ) ว่าเป็นตัวทุกข์ เมื่อเรียนรู้รูปนามจนแจ่มแจ้ง จิตก็เป็นกลางกับรูปนาม สามารถถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก(รูปนาม)เสียได้ จิตก็หมดตัณหา หมดความอยาก หมดดิ้นรน พ้นการปรุงแต่ง เรียกว่า วิสังขาร หรือวิราคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระนิพพาน จากพระธรรมเทศนาของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การสร้างบารมีเป็นพระโสดาบัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
#พระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี” เรียกว่า “ละสกายทิฐิ”ได้ ท่านเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ในกายนี้ ในใจนี้ ไม่มีตัวเรา กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้อีก สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ตลอดเวลา ก็คือกายนี้ใจนี้เท่านั้นแหละ รูปนาม ขันธ์๕ อายตนะ๖ ธาตุ๑๘ แล้วแต่จะเรียกนะ รวมความง่ายๆ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนี่เอง เราเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราสามารถพัฒนาจิตใจ จนเราเห็นความจริงนะว่าตัวเราไม่มีหรอก กายนี้ไม่ใช่เราใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้ ไม่มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ เราก็จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เที่ยงต่อการตรัสรู้ในวันข้างหน้า วันหนึ่งก็เป็นพระอรหันต์ เหมือนคนตกลงในกระแสน้ำนะ น้ำพัดพาไปนะ วันหนึ่งไปถึงทะเล ทำยังไงเราถึงจะสามารถเห็นได้ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรานะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนบอกว่า คนในศาสนาอื่นเค้าสามารถเห็นได้ว่า กายไม่ใช่เรา มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะ ถึงจะพัฒนาจิตใจเรา จนเราเห็นความจริงว่า จิตก็ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา อย่างคนที่เรียนกับหลวงพ่อนะ ซักเดือนสองเดือนเนี่ย สามารถเห็นได้แล้วว่ากายไม่ใ
การเจริญปัญญาการเจริญปัญญา การทำวิปัสสนา ไม่ใช่อะไรที่ลึกลับอะไรหรอก มันคือการ#ฝึกจิตให้มองต่างมุม #เดิมจิตเคยมองแต่ว่ามีตัวเรา #มีตัวเรามองอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาฝึกจิตให้หัดมองต่างมุม ให้เห็นความจริง ว่าขันธ์ไม่ใช่ตัวเรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา หัดดูไปเรื่อยๆ เบื้องต้นก็ช่วยมันคิดหน่อยนึงก็ได้ สำหรับบางคนซึ่งชาติก่อนๆไม่เคยเดินปัญญามา คนที่ถ้าไม่เคยเจริญปัญญามาแต่ปางก่อนนะ เคยแต่ทำสมาธินะ พอจิตมีกำลัง จิตตั้งมั่นขึ้นมา ขนาดจิตตั้งมั่นแล้วนะ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นแล้วนะ มันยังไม่ยอมดูธาตุดูขันธ์ทำงานเลย มันก็ตื่นอยู่เฉยๆ ว่างอยู่เฉยๆ จิตอย่างนั้นใช้ไม่ได้ จิตไม่เดินปัญญา ถ้ามันไม่เดินปัญญา ก็ต้องช่วยมันพิจารณา ช่วยมันคิด คิดนำให้มันหัดมองต่างมุม ดูบ้างว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงนะ ร่างกายเป็นทุกข์ ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา สอนมัน พอมันหัดมองต่างมุม พอมันชำนาญในการมอง ต่อไปมันมองเอง ตรงที่พามันมองเนี่ย ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ตรงที่มันมองได้เองถึงจะเป็นวิปัสสนานะ เพราะฉะนั้นบางคน ถ้าอินทรีย์ไม่แก่กล้านะ ต้องช่วยมันพิจารณา ถ้าอินทรีย์แก่กล้าจริงนะ ขันธ์มันแตกออกไปเลย พอจับตัวผู้รู้ได้แล้วขันธ์จะแตกออกไปนะ เคยมีโยมคนหนึ่ง ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เรียนตอนเช้า ตอนเย็นนะ ขันธ์แตกออกมาแล้ว มีตัวผู้รู้ เพราะตัวผู้รู้ทำมาได้ตั้งแต่เด็ก ทำสมถะ ทำลมหายใจ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับหนึ่ง อะไรอย่างนี้ มีจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้ว แต่ต่อไม่เป็น ไม่รู้จะเดินปัญญายังไง ก็ไปอยู่แค่นั้นเอง ไปเจอครูบาอาจารย์ท่านสอนมา ให้ไปดูจิตต่อ พอจะมาดูจิตก็มาดู จิตต้องอยู่ในร่างกาย เห็นร่างกาย ดูซิจิตอยู่ตรงไหน อยู่ในผมมั้ย อยู่ในขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูกมั้ย ไล่ๆ ไล่ไปเรื่อยๆ สุดท้ายร่างกายก็แยกไปอยู่ส่วนหนึ่ง เพราะจิตเป็นผู้รู้อยู่แล้ว พอไปดูกายเข้า จงใจมาดูกายนี้ ก็เห็นกายแยกออกไปอยู่ต่างหาก มาดูเวทนาก็เห็นเวทนาแยกออกไปอยู่ต่างหาก มาดูสังขาร ความปรุงต่างๆของจิต ก็แยกออกไปอยู่ต่างหาก กระทั่งเรื่องราวที่คิดนะ คิด อย่างคิดบทสวดมนต์ พุทโธ สุสุทโธ กรุณา มหรรณโว คิดบทสวดมนต์นี้ จิตเป็นคนรู้ขึ้นมานะ ความคิดกับจิตก็แยกออกจากกัน พอจิตกับความคิดแยกออกจากกันได้นะ ตัวรู้มันก็ผุดขึ้นมาอีก เป็นตัวรู้ที่มีคุณภาพมาก ไม่ใช่รู้อยู่เฉยๆด้วย คราวนี้ รู้แล้วเห็นขันธ์ทำงานได้
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
วิธีการเข้าถึงพระนิพพาน#พระธรรมเทศนาโดยพระราชพรหมยานเถระหลวงพ่อฤๅษีวัดท่าซุง https://www.youtube.com/watch?v=njI_r... https://www.youtube.com/watch?v=9xMtT... https://www.youtube.com/watch?v=GTVCe... https://www.youtube.com/watch?v=xMyut... https://www.youtube.com/watch?v=ukhEH... https://www.youtube.com/watch?v=lvATE... https://www.youtube.com/watch?v=XeR5D... https://www.youtube.com/watch?v=82qm2... https://www.youtube.com/watch?v=ZOKSk... https://www.youtube.com/watch?v=npxT7... https://www.youtube.com/watch?v=BuVhz... https://www.youtube.com/watch?v=_Macu... https://www.youtube.com/watch?v=lvATE... https://www.youtube.com/watch?v=mLGql... ละ...กามฉันทะกองเดียวไปนิพพาน พระราชพรหมยาน สรรพสัตว์ทุกชีวิตมีจิตวิญญาณ..ล้วน..วิวัฒนาการ..มาจากแสงที่ส่องมาจาก..ดวงอาทิตย์..ศีล..ข้อที่1...ห้ามทำร้าย..สัตว์..ห้ามฆ่าสัตว์..เด็ดขาดครับ...ศีลทั้งห้าข้อ..เว้นขาดครับ..เมื่อใกล้ตายจิตจะมารวมตัวกันเองโดยไม่ต้องบังคับ... เพราะจิตมีความชินกับการที่จิตเราจับอยู่ที่พระพุทธองค์ และพระนิพพานเสมอ... ให้เชื่อมั่นว่า... ตายเมื่อไหร่เราขึ้นพระนิพพานแน่..พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ http://www.watthasung.com/wat/viewthr... http://www.tangnipparn.com/Frameset-1... http://buddhasattha.com/2010/07/08/ http://nkgen.com/486.htm,วิธีพาตัวเรา... วิธีเจริญ กายคตาสติภาวนา http://www.nkgen.com/37.htm
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางอันประเสริฐ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
#ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและศีลธรรมที่เสื่อมสลาย #ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ #แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสนวุ่นวายเหล่านี้ได้ปรากฏแล้วในพระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ
ทางอันประเสริฐ#ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใจของผู้คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและศีลธรรมที่เสื่อมสลาย #ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะประสบ #แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสนวุ่นวายเหล่านี้ได้ปรากฏแล้วในพระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นผลงานของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอาแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าวอธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เมื่อใดที่ท่านมีความทุกข์ ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่าพุทธังสะระณัง คัจฉามิ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ...สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที /|\ /|\ /|\ #ถ้าจิตเราเป็นกลางเราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิเราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมาจิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมาขั้นแรกมันจะรวมลงก่อนรวมเข้าอัปปนาสมาธิรวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวมไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวมรวมโดยอัตโนมัติเมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับเกิดดับสองขณะบ้างสามขณะบ้างถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คืออาสวกิเลสทั้งหลายสังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมา ให้เรารู้สึกได้สองขณะบ้างสามขณะบ้างคนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล
มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
#จิตก็ทรงสติปัญญามากขึ้นๆนะ #ตอนที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ยไม่ได้ไปรู้รูปนามหรอก #จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิตัดการรับรู้ที่แผ่กว้างออกทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตัดการรับรู้อันนั้นออกแล้วรวมลงมาที่ใจอันเดียวเห็นไหมสมาธิสำคัญนะ ที่เราฝึกให้มีตัวรู้ๆ เวลาเกิดอริยมรรคมันมาเกิดที่ตัวรู้นี่แหละไม่ไปเกิดที่อื่นหรอก ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มีแต่ตัวร่อนเร่ ไปเกิดที่โน่นที่นี่ นั่นเรียกเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดที่อื่น งั้นเราฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมา ท่านจึงสอนในอภิธรรมสอน สัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่รองรับองค์มรรคทั้ง ๗ ที่เหลือเข้าด้วยกัน เป็นที่ประชุมขององค์มรรค งั้นจิตประชุมที่ไหน? ประชุมที่จิต ประชุมด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ จิตที่มันตั้งมั่น แล้วสติเกิดที่ไหน? ที่จิต สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาทั้งหลายแหล่เกิดลงที่จิตอันเดียวเลย ประชุมลงที่จิตอันเดียวเลย สัมมาวาจาไม่ได้ไปอยู่ที่ปากแล้ว แต่อยู่ที่จิต สังเกตไหมก่อนปากพูดจิตพูดก่อน สัมมาวาจาตอนที่อริยมรรคเกิดมันพูดอะไรรู้ไหม? มันพูดอย่างนี้ “ ” ได้ยินไหม เนี่ยสัมมาวาจา ถ้ายังอ้าแง๊บๆๆๆเนี่ยมิจฉาวาจานะ งั้นประชุมลงที่จิตเลย องค์มรรค ๘ ประการรวมลงที่จิตอ
มรรคผลนิพพานไม่ไกลนะ มันไกลสำหรับคนซึ่งไม่รู้จักวิธี#จิตก็ทรงสติปัญญามากขึ้นๆนะ #ตอนที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ยไม่ได้ไปรู้รูปนามหรอก #จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิตัดการรับรู้ที่แผ่กว้างออกทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตัดการรับรู้อันนั้นออกแล้วรวมลงมาที่ใจอันเดียวเห็นไหมสมาธิสำคัญนะ ที่เราฝึกให้มีตัวรู้ๆ เวลาเกิดอริยมรรคมันมาเกิดที่ตัวรู้นี่แหละไม่ไปเกิดที่อื่นหรอก ถ้าเราไม่มีตัวรู้ มีแต่ตัวร่อนเร่ ไปเกิดที่โน่นที่นี่ นั่นเรียกเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดที่อื่น งั้นเราฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมา ท่านจึงสอนในอภิธรรมสอน สัมมาสมาธิเป็นภาชนะที่รองรับองค์มรรคทั้ง ๗ ที่เหลือเข้าด้วยกัน เป็นที่ประชุมขององค์มรรค งั้นจิตประชุมที่ไหน? ประชุมที่จิต ประชุมด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ จิตที่มันตั้งมั่น แล้วสติเกิดที่ไหน? ที่จิต สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาทั้งหลายแหล่เกิดลงที่จิตอันเดียวเลย ประชุมลงที่จิตอันเดียวเลย สัมมาวาจาไม่ได้ไปอยู่ที่ปากแล้ว แต่อยู่ที่จิต สังเกตไหมก่อนปากพูดจิตพูดก่อน สัมมาวาจาตอนที่อริยมรรคเกิดมันพูดอะไรรู้ไหม? มันพูดอย่างนี้ “ ” ได้ยินไหม เนี่ยสัมมาวาจา ถ้ายังอ้าแง๊บๆๆๆเนี่ยมิจฉาวาจานะ งั้นประชุมลงที่จิตเลย องค์มรรค ๘ ประการรวมลงที่จิตอันเดียวด้วยอำนาจของสัมมาสมาธินั่นเองนะ ตรงนี้อัตโนมัติทั้งหมดเลย สติระลึกรู้อยู่แค่จิตโดยไม่เจตนาระลึก สมาธิตั้งมั่นอยู่กับจิตโดยไม่เจตนาตั้งมั่น ปัญญานี่หยั่งซึ้งลงไปในจิต เห็นการทำงานภายในจิตอีกโดยไม่เจตนา สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงที่เดียวนี้เอง อริยมรรคก็เกิด ถ้ายังกระจายๆอยู่ไม่เกิดอริยมรรค อริยมรรคมีองค์ ๘ ถามว่าอริยมรรคมีเท่าไหร่ มี ๑ เท่านั้นนะ เวลาเกิดอริยมรรคมี ๑ เท่านั้น แต่มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง มรรคไม่ได้มี ๘ มรรคนะ แต่ว่าการเกิดอริยมรรคจะเกิด ๔ ครั้ง โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรค มรรคแต่ละครั้งเกิด ๑ ขณะจิตเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะจิต
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
บริกรรม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลั
วิธีทำลายตัณหาอย่างสิ้นเชิง
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลั
วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
พวกเราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดในแผ่นดินที่ดี พวกเรามีสติปัญญาสนใจธรรมะ พวกเราได้ฟังธรรมะ มีบุญนะพวกเรา เหลืออยู่อย่างเดียวเท่านั้นแหละ ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ถ้าปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม คือมีสติ รู้กายรู้ใจเรื่อยๆไป เรียกว่าปฏิบัติธรรม ถึงวันหนึ่งเราได้มรรคได้ผลขึ้นมา เราจะรู้คุณค่าที่แท้จริงของพระศาสนา รู้เลยว่าไม่มีอะไรยิ่งใหญ่เท่ากับคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ถึงจะดีถึงจะวิเศษแค่ไหน เป็นเพียงเครื่องช่วยให้อยู่ในโลกอย่างสบาย #มีแต่ธรรมะของพระพุทธเจ้าช่วยให้เราอยู่เหนือโลกได้ อยู่เหนือโลกมันดีตรงไหน มันดีตรงที่มันพ้นจากความแปรปรวน โลกนี้เต็มไปด้วยความแปรปรวนนะ มีสุขแล้วก็ทุกข์นะ มีสรรเสริญแล้วก็นินทา มีลาภแล้วก็เสื่อมลาภ มียศแล้วก็เสื่อมยศ โลกมันเป็นอย่างนั้น โลกกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลงตลอดเวลา โลกไม่เคยสงบสันติที่แท้จริง ยุคใดเรียกร้องสันติภาพมาก แสดงว่ายุคนั้นไม่มีสันติภาพ ยุคใดเรียกร้องเสรีภาพ แสดงว่ายุคนั้นไม่มีเสรีภาพ ยุคใดเรียกร้องความรักความสามัคคี แสดงว่าไม่มีความรักความสามัคคี เห็นไหม โลกมันเป็นอย่างนี้ โลกมันมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความแป
videoplaybackกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาหลวงพ่อและท่านอาจารย์มากครับที่กรุณาให้โอกาสครับเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวสุขทุกข์ดีชั่วทั้งหลายชั่วคราวทั้งหมดตรงนี้แหละใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่างตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่าสังขารุเบกขาญานจิตมีปัญญานะเป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลายสุขทกข์ดีชั่วทั้งหลายนี่จิตเป็นกลางหมดเลยเพราะอะไรเพราะปัญญาไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะกำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญาถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลยความสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายโลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายกุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะจิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริงความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจจิตมันจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างนี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญนี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่ออย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้นอยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อมีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ /|\ /|\ /|\#เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้นจิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิเพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ยสัมมาสมาธิท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิด้วยฌาน๔พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่าเจริญบุพพภาคมรรคเบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะเราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิดจิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะจิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผลจะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดาที่เรียกว่ากามาวจรจิตกามาวจรภูมิไม่เป็นอย่างนั้นนะต้องเข้าฌานนะเมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็นสภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะแต่ละคนไม่เท่ากัน นะถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ถูกอริยมรรคแหวกออกไปแล้วก็มันจะไปเห็นนิพพาน นะนิพพานไม่ใช่ว่างเปล่านิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่งพวกเรายังไม่เคยเห็นเราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่งพวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลยขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลยกระทั่งสติพวกนี้หลงไปล่ะคิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลยนี่พวกอุจเฉททิฐินะนิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับสภาวะของนิพพานคือสันติคือความสงบนั่นเองสงบจากอะไรสงบจากกิเลสสงบจากอะไรสงบจากความปรุงแต่งสงบจากอะไรสงบจากการแบกหามขันธ์นะดังนั้นเราภาวนานะ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
videoplaybackกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาหลวงพ่อและท่านอาจารย์มากครับที่กรุณาให้โอกาสครับเราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวสุขทุกข์ดีชั่วทั้งหลายชั่วคราวทั้งหมดตรงนี้แหละใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่างตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่าสังขารุเบกขาญานจิตมีปัญญานะเป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลายสุขทกข์ดีชั่วทั้งหลายนี่จิตเป็นกลางหมดเลยเพราะอะไรเพราะปัญญาไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะกำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญาถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลยความสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายโลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายกุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะจิตมันยอมรับความจริงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริงความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจจิตมันจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างนี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญนี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่ออย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้นอยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อมีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ /|\ /|\ /|\#เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้นจิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิเพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ยสัมมาสมาธิท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิด้วยฌาน๔พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่าเจริญบุพพภาคมรรคเบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะเราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิดจิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะจิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผลจะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดาที่เรียกว่ากามาวจรจิตกามาวจรภูมิไม่เป็นอย่างนั้นนะต้องเข้าฌานนะเมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็นสภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะแต่ละคนไม่เท่ากัน นะถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ถูกอริยมรรคแหวกออกไปแล้วก็มันจะไปเห็นนิพพาน นะนิพพานไม่ใช่ว่างเปล่านิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่งพวกเรายังไม่เคยเห็นเราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่งพวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลยขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลยกระทั่งสติพวกนี้หลงไปล่ะคิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลยนี่พวกอุจเฉททิฐินะนิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับสภาวะของนิพพานคือสันติคือความสงบนั่นเองสงบจากอะไรสงบจากกิเลสสงบจากอะไรสงบจากความปรุงแต่งสงบจากอะไรสงบจากการแบกหามขันธ์นะดังนั้นเราภาวนานะ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
Khae Rai Intersection แยกแคราย int i = 0, sec = 0, minutes = 0, hours = 0; ISR(TIMER1_COMPA_vect) // timer1 Interrupt ทุกๆ 0.1 วินาที { i++; if(i >= 10){ sec++; i = 0; } if(sec >= 60){ minutes++; sec = 0; } if(minutes >= 60){ hours++; minutes = 0; } } void setup() { Serial.begin(9600); noInterrupts(); TCCR1A = 0; TCCR1B = 0; TCNT1 = 0; OCR1A = 6250; // 0.1 sec. TCCR1B |= (1 << WGM12); // CTC mode TCCR1B |= (1 << CS12); // 256 prescaler TIMSK1 |= (1 << OCIE1A); // enable timer compare interrupt interrupts(); // enable all interrupts } void loop() { Serial.print(hours);Serial.print(":"); Serial.print(minutes);Serial.print(":"); Serial.println(sec); }
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
Khae Rai Intersection แยกแคราย int i = 0, sec = 0, minutes = 0, hours = 0; ISR(TIMER1_COMPA_vect) // timer1 Interrupt ทุกๆ 0.1 วินาที { i++; if(i >= 10){ sec++; i = 0; } if(sec >= 60){ minutes++; sec = 0; } if(minutes >= 60){ hours++; minutes = 0; } } void setup() { Serial.begin(9600); noInterrupts(); TCCR1A = 0; TCCR1B = 0; TCNT1 = 0; OCR1A = 6250; // 0.1 sec. TCCR1B |= (1 << WGM12); // CTC mode TCCR1B |= (1 << CS12); // 256 prescaler TIMSK1 |= (1 << OCIE1A); // enable timer compare interrupt interrupts(); // enable all interrupts } void loop() { Serial.print(hours);Serial.print(":"); Serial.print(minutes);Serial.print(":"); Serial.println(sec); }
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ทางมรรคผลนิพพาน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ลัทธิของครูทั้ง 6 จัดว่าเป็นลัทธิร่วมสมัยพุทธกาล มีหลักฐานปรากฏในสามัญผลสูตรที่กล่าวถึงครูทั้ง 6 ว่า... เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูได้ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าพิมพิสารผู้ราชบิดาอยู่มาวันหนึ่งทรงมีความประสงค์จะสนทนากับสมณพราหมณ์ ในปัญหาเรื่องการบวชมีผลเป็นที่ประจักษ์อย่างไร ได้เสด็จถามปัญหาดังกล่าวกับครูทั้ง 6 และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอพระทัย เพราะเป็นการถามปัญหาอย่างหนึ่งและตอบเสียอีกอย่างหนึ่ง ทรงนำคำตอบในลัทธิของครูทั้ง 6 มาตรัสเล่าถวายพระพุทธเจ้า ข้อความพิสดารมีปรากฏในสามัญญผลสูตร ครูทั้ง 6 นั้นมีนามปรากฏ ดังนี้ คือ 1. ปูรณกัสสปะ 2. มักขลิโคศาล 3. อชิตเกสกัมพล 4. ปกุธกัจจายนะ 5. สญชัยเวลัฏฐบุตร 6. นิครนถนาฏบุตร --->> 1. ทรรศนะของปูรณกัสสปะ ปูรณกัสสปะ เป็นเจ้าลัทธิเก่าแก่ผู้หนึ่ง มีความเห็นว่า วิญญาณเป็นสิ่งไร้กัมมันตภาพเป็นสิ่งเที่ยงแท้ถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายนี้เองเป็นเจ้าของพฤติกรรม วิญญาณไม่เกี่ยวข้องกับกรรมดีกรรมชั่วที่ร่างกายทำ แต่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่ไร้เจตนา ดังนั้น เมื่อร่างกายทำสิ่งใด ๆ ลงไป จึงไม่จัดเป็นบุญบาปแต่อย่